การประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัดด้วยการลงทุนอย่างคุ้มค่า
การประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัดด้วยการลงทุนอย่างคุ้มค่า


การประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัดด้วยการลงทุนอย่างคุ้มค่า
หลายๆ โรงงานเก็บเงินลงทุนไว้ในธนาคารเพื่อเก็งกำไรจากดอกเบี้ยอันน้อยนิด แต่หารู้ไม่ หากท่านนำก้อนเงินนั้นมาลงทุนจะได้กำไรกลับคืนเป็นร้อยเท่าเลยทีเดียว ทำอย่างไร???
เราขอแนะนำ เครื่องมือตรวจวัดประสิทธิภาพของระบบอากาศอัดแบบต่อเนื่อง ร่วมกับการใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการพลังงาน
ความสำเร็จในการบริหารจัดการพลังงาน เริ่มต้นมาจากการสำรวจแหล่งที่มาของพลังงานที่สูญเสียไปในโรงงานของท่าน เราขอแนะ นำเครื่องวัดอัตราการไหลในระบบอากาศอัดแบบต่อเนื่อง แบรนด์ Vpinstruments จากเนเธอร์แลนด์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามและตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัด นอกจากนี้ยังมี VPVision หรือระบบที่ช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูล และติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานภายในระบบการผลิตอากาศอัดของท่านได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับประกอบการตัดสินใจ เสมือนท่าน Audit ระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ระบบอากาศอัดเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง
อากาศอัดมีใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเครื่องจักร การเคลื่อนย้ายสินค้า การทำความสะอาดสินค้า เป็นต้น อากาศอัดผลิตจากการดึงอากาศในบรรยากาศมาผ่านแผ่นกรอง (Filter) และถูกอัดให้มีแรงดันสูง (อากาศอัดทั่วๆ ไปมีแรงดันที่ 5-8 บาร์) จากนั้นลำเลียงผ่านท่อไปยังเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูง ถึงแม้ว่าระบบอากาศอัดจะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นสิบๆ ปี แต่ก็ยังเป็นทรัพยากรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง อากาศอัดจึงเป็นต้นทุนการผลิตที่มีราคาสูงที่สุด เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ท่านทราบหรือไม่?? kW ของอากาศอัดมีการใช้พลังงานสูงกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ 10-20 เท่าเลยทีเดียว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เรามุ่งเน้นการประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัด

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนผลิตอากาศอัด
1. การตรวจติดตามและวิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยระบบการบริหารจัดการพลังงานที่ทันสมัยช่วยให้ท่านสามารถมองเห็นภาพรวมของการใช้งานอากาศอัด และยังสามารถสร้างรายงานข้อมูลให้ท่านได้แบบอัตโนมัติ ในรายงานจะแสดงข้อมูล ประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ ค่าใช้จ่ายในการผลิต และปริมาณการใช้อากาศอัดในแต่ละแผนก
สำหรับระบบตรวจติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลระบบอากาศอัด VPinstruments ขอนำเสนอ VPVision เป็นโซลูชั่นที่สามารถตรวจติดตามการใช้พลังงานได้อย่างต่อเนื่อง (Real time)
• ช่วยให้ท่านทราบข้อมูลปริมาณการใช้อากาศอัดในแต่ละแผนก ผ่าน Web browser
• มีข้อมูลปริมาณการใช้งานอากาศอัดในแต่ละแผนก และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
• ข้อมูลที่ได้ครอบคลุมตั้งแต่ฝั่งผู้ผลิตอากาศอัด ไปจนถึงผู้ใช้งาน

2. การบริหารจัดการรอยรั่ว
การบริหารจัดการรอยรั่วในระบบอากาศอัด คือการตรวจสอบและทำการซ่อมแซมรอยรั่ว รวมถึงการมีระบบในการตรวจติดตามแบบต่อเนื่องตั้งแต่จุดเริ่มต้น หรือฝั่งผู้ผลิตอากาศอัด ไปจนถึงผู้ใช้งาน
การตรวจสอบรอยรั่วในระบบอากาศอัดด้วยการใช้เครื่องอัลตราโซนิคฟังเสียงจากรอยรั่ว จะทำให้ทราบว่าตำแหน่งไหนเกิดการรั่ว และจัดเป็นวิธีที่ที่ยุ่งยาก แต่ถ้าหากท่านต้องการทราบอัตราการรั่วทั่งหมดในระบบอากาศอัด ควรติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดแบบถาวร เพื่อให้สามารถตรวจสอบรอยรั่วทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทางหนึ่งท่านสามารถติดต่อบริษัทที่รับตรวจสอบและทำการซ่อมแซมรอยรั่วในระบบอากาศอัด แต่ข้อควรระวังคือการเปลี่ยนแปลงของ baseload หลังการซ่อมแซม หาก baseload เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ ทำให้เครื่องอัดอากาศเป่าเอาอากาศส่วนเกินออก ซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์
ดังนั้น หากท่านต้องการบริหารจัดการรอยรั่วในระบบอากาศอัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ ท่านควรมีระบบที่สามารถตรวจสอบรอยรั่วในระบบอากาศอัดทั้งหมด รวมถึงโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการรอยรั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การปรับปรุงระบบอากาศอัด
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การบริหารจัดการรอยรั่ว ส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดความผันผวน หรืออาจทำให้เครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ มีการใช้งานอากาศอัดในปริมาณไม่เท่าเดิม แต่หากท่านมีระบบบริหารจัดการพลังงานแบบต่อเนื่อง โปรแกรมจะแสดงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ท่านสามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ทันท่วงที ในการที่จะปรับปรุงระบบอากาศอัด สิ่งที่ควรพิจารณาต่อมาคือ จำนวนหรืออัตราการใช้ไฟของเครื่องอัดอากาศ รวมถึงการลดแรงดันในระบบอากาศอัด ก็จัดเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น

จุดคุ้มทุน (Return on Investment)
การประหยัดพลังงานในระบบอากาศอัดเป็นการสร้างกำไรให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง เปรียบเสมือนเป็นขุมทรัพย์แหล่งหนึ่งในโรงงานของท่าน หากท่านมีวิธีการและเครื่องมือ ที่เหมาะสมจะช่วยให้ท่านให้รับผลตอบแทนในระยะเวลาไม่ช้า ซึ่งการลงทุนเครื่องมือดังกล่าว ใช้เวลาในการคืนทุนไม่นาน ยกตัวอย่าง ในโรงงานหนึ่งมีเครื่องอัดอากาศจำนวน 2 เครื่อง
• เครื่องที่ 1 ใช้พลังงานไฟฟ้า 125 kW เดินเครื่อง 7000 ชั่วโมง/ปี
• เครื่องที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้า 75 kW เดินเครื่อง 5000 ชั่วโมง/ปี
โรงงานแห่งนี้จ่ายค่าไฟอยู่ที่ 10 cent/kWh ดังนั้นโรงงานนี้จ่ายค่าไฟทั้งหมดอยู่ทีประมาณ 125,000 Euro/ปี
โรงงานนี้ใช้ระบบ VPVision ซึ่งช่วยในการแจ้งเตือนเมื่อมีการรั่ว และวางแผนการซ่อมแซมรอยรั่วต่างๆ
Compressor No. | 1 | 2 |
Running Hour (Per year) | 7,000 | 5,000 |
Power (kW) | 125 | 75 |
kWh [Running hr/yr*kW] |
875,000 (7000*125) |
375,000 (5,000*75) |
Cost per year (EUR) [10 cent/kW] |
87,500 ((875,000*10)/100) |
37,500 ((375,000*10/100)) |
Total (EUR) | – | 125,000 |
หากท่านสนใจ Solution ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถติดต่อเข้ามาที่บริษัท เอ็นเทคฯ ตามข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
ทางบริษัทฯ มีความยินดีที่จะแนะนำ รวมถึงการให้คำปรึกษาในเรื่องข้อมูลสินค้าหรือการบริการต่างๆ โดยทีมงานวิศวกรผู้ชำนาญด้านการตรวจวัดอัตราการไหลในระบบอากาศอัด
ท่านสามารถดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่ >> เครื่องวัดอัตราการไหลในระบบอากาศอัด
สนใจผลิตภัณฑ์หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : คุณปทิตตา โทร. 092-258-1144 หรือ Line ID : @entech