การวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฉายแสง UV สำหรับงานทางด้านการแพทย์ผิวหนัง

การวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฉายแสง UV สำหรับงานทางด้านการแพทย์ผิวหนัง

Phototherapy หมายถึง การใช้แสง (รังสีอัลตราไวโอเลต (UV), แสงขาว (visible light) และแสงอินฟราเรด (infrared light)) เพื่อใช้ในการรักษาสภาวะต่างๆของร่างกายทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รังสี UV ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาสภาวะผิดปกติของสภาพผิวต่างๆของมนุษย์ เช่น โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis), โรคด่างขาว (vitiligo), โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (กลาก) และเชื้อราตามผิวหนัง

โดยเมื่อพูดถึง UV phototherapy หรือการใช้แสง UV ในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผิวหนังสามารถจำแนกออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
1. Broadband UVB (BB-UVB) ซึ่งรักษาสภาพผิวโดยการใช้รังสี UVB แบบเต็มช่วงสเปกตรัมที่ช่วงความยาวคลื่น 280 – 315 นาโนเมตร
2. Narrowband UVB (NB-UVB) ซึ่งใช้เฉพาะช่วงความยาวคลื่นหนึ่งภายในช่วงสเปกตรัมของรังสี UVB สำหรับการรักษา ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้การฉายแสง UVB ที่ความยาวคลื่น 311 นาโนเมตร
3. PUVA (Psoralen + UVA) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้ช่วงของรังสี UVA ที่ความยาวคลื่น 315 – 400 นาโนเมตร ร่วมกับ psoralen ที่ซึ่งเป็นสารประกอบที่ช่วยเพิ่มความสามารถของรังสี UVA ในการฉายลงบนผิวหนัง โดย PUVA นั้นในบางครั้งจะถูกเรียกว่า photochemotherapy

แต่ก่อนนั้นรังสี UVB แบบเต็มช่วงนั้นมักใช้เพื่อรักษาสภาพผิวทั่วๆ ไป แต่ในปัจจุบัน รังสีในช่วงของ NB-UVB ได้เข้ามาแทนที่ BB-UVB เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากช่วยป้องกันหรือสกัดกั้นความยาวคลื่นสั้นที่มีพลังงานสูงกว่า ซึ่งถูกพบในช่วงของการฉายรังสี BB-UVB ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผื่นแดง และมีความเสี่ยงต่อมะเร็งในระยะยาวมากขึ้น และอีกหนึ่งรูปแบบที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ มักนิยมใช้รูปแบบการฉายรังสีที่เรียกว่า PUVA ในสภาวะของโรคที่เกี่ยวข้องกับผิวต่างๆ เช่น เชื้อราที่เล็บ กลากที่มือและเท้า และโรคสะเก็ดเงินที่เป็นตุ่มหนอง รวมถึงสภาวะต่างๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อรังสี UVB หรือไม่สามารถใช้รังสีในช่วงของ UVB ในการทำลายหรือฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เหล่านั้นได้

สำหรับการวัดปริมาณรังสีที่ถูกฉายไปยังผู้ป่วยอย่างแม่นยำนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการบำบัดหรือรักษาด้วยแสงยูวี ไม่เพียงแต่ช่วยให้มั่นใจว่าผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาด้วยช่วงความยาวคลื่นที่ถูกต้อง และปริมาณของรังสีอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น แต่ยังจำเป็นเพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าปริมาณรังสี UV ที่สะสมในตัวผู้ป่วยนั้นได้ผ่านการบันทึกปริมาณได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะส่งผลทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังในระยะยาวได้ดีที่สุด

สำหรับการฉายรังสี UV ปริมาณรังสี UV จะถูกพิจารณาจากปริมาณการฉายรังสีที่วัดได้ที่ทำการฉายลงบนพื้นผิว คูณด้วยระยะเวลาที่สัมผัสกับรังสี โดยการฉายรังสีนั้นจะวัดเป็นในหน่วยของกำลังต่อหน่วยพื้นที่ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของหน่วย mW/cm ดังนั้น สำหรับในกรณีที่ทำการวัดเทียบเป็นต่อหนึ่งวินาที ปริมาณของรังสีจะถูกแสดงเป็นในหน่วยของ J/cm2 อย่างไรก็ตาม ยังมีการพบว่าเกิดความคลาดเคลื่อนสำหรับค่าการวัดอย่างมากในการวัดปริมาณรังสีในศูนย์บำบัดรักษาต่างๆ ซึ่งสาเหตุหลักของข้อผิดพลาดเกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงการตอบสนองของค่าโคไซน์ (ค่าที่ใช้พิจารณาการเบี่ยงเบนของแสงตกกระทบ) ที่ไม่ดี การตอบสนองของสเปกตรัมที่ไม่ถูกต้อง (spectral mismatch ) ของแถบรังสี UVA และ UVB ตลอดจนการสอบเทียบที่ไม่เหมาะสม และไม่สามารถทวนสอบกลับได้ของเครื่องวัดรังสีที่ใช้

เราจึงขอเสนอ เครื่องวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฉายรังสี UV ที่ใช้ในงานทางด้านการแพทย์ผิวหนัง แบรนด์ Gigahertz-Optik ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมนี ที่เป็นผู้นำทางด้านเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านแสง โดยมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องวัดแสงมาอย่างยาวนาน และเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เรดิโอเมตริกเซ็นเซอร์ที่มีการปรับแก้ค่าโคไซน์ด้วยเครื่องตรวจจับคู่ (dual detectors) รุ่น XD-9503 และ XD-9501 ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการวัดการฉายรังสี UVA และ UVB ของหลอดฉายรังสีดังกล่าว และ X1 Optometer ที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าในการแสดงผลการวัดได้โดยตรงในหน่วยของการวัดปริมาณรังสี (dose) หรือ หน่วยของการฉายรังสี (irradiance) สำหรับเครื่องตรวจจับ (detectors) เหล่านี้

โดยสามารถแสดงผลเป็นทั้งแบบสเปกตรัม และตัวเลขบ่องบอกปริมาณของแสงในช่วง UVA และ UVB ที่เกิดขึ้นในช่วงความยาวคลื่นดังกล่าวจากอุปกรณ์หลอดไฟที่ใช้ในการฉายรังสีในช่วงต่างๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแหล่งกำเนิดแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการฉายรังสีทางด้านนี้จะเลือกใช้เป็นตัว TL01 และ TL12 ซึ่งจะมีการแผ่รังสี อยู่ในช่วง 240 nm ถึง 340 nm และมีจุดสูงสุด (peak) ที่ 313 nm

โดยสำหรับ detector รุ่น XD-9503 และ XD-9501 ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับการวัดการฉายรังสี UVA และ UVB ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาของแหล่งกำเนิดแสง TL01 และ TL12 นี้ ตัว detector ทั้ง 2 รุ่นถูกออกแบบมาในลักษณะของ 2 channel สำหรับการเลือกช่วงการวัดระหว่าง UVA และ UVB ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยทาง Gigahertz นั้นได้ทำการสอบเทียบโดยใช้แหล่งกำเนิดแสง TL1 และ TL12 ดังกล่าว ช่วยให้ตัวเครื่องสามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำผ่านการดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบของทาง Gigahertz เอง

การตอบสนองทางสเปกตรัมทั่วไปของ detector รุ่น XD-9503

การตอบสนองทางสเปกตรัมทั่วไปของ detector รุ่น XD-9501

โดยออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด สามารถใช้งานง่าย และมีการแสดงผลผ่านหน้าจอ LCD graphic รวมถึงแบตเตอรี่ชนิด 1.5 V AA 2 ก้อน ที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานได้นานสูงสุดถึง 250 ชั่วโมง และสามารถทำการชาร์จผ่านสายชาร์จ USB รวมถึงส่งผ่านข้อมูลการวัดไปเก็บไว้ยัง laptop ได้ และมีหน่วยความจำสำหรับการบันทึกค่าในการทำคาลิเบรทได้สูงถึง 256 ข้อมูล

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน คุณพณิชรัตน์  โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ คุณนันท์นภัส  โทร. 092-282-3223
ลูกค้าภาคตะวันออก คุณลัดดาวัลย์  โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save