การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม และขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด

การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม และขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด

การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม
และเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด

การปรับอากาศเป็นการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด การกระจายความเย็น ให้ได้สภาวะที่ต้องการ โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ พลังงานที่ใช้ในระบบปรับอากาศคิดเป็นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาและทำความเข้าใจในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ เนื่องจากหากสามารถประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็นและปรับอากาศได้ ก็จะสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมาก

ตาราง แสดงการใช้ไฟฟ้าในอาคารแต่ละประเภทแยกตามกิจกรรม คือ ระบบทำความเย็น ระบบแสงสว่าง และอื่นๆ เป็นร้อยละของการใช้งาน (Lawrence Berkley Laboratory การพลังงานแห่งชาติ Energy Conservation in Conservation in Commercial Building ปี พ.ศ. 2528

ประเภทอาคาร ระบบทำความเย็น ระบบแสงสว่าง อื่นๆ
สำนักงาน 50.0 25.0 25.0
โรงแรม 61.0 15.3 23.7
ศูนย์การค้า 60.0 25.0 15.0
สถานพยาบาล 71.5 14.7 7.8

ประเภทของระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type Air Conditioner)
2. ระบบปรับอากาศแบบระบบ (VRV / VRF)
3. ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์

โรงงานและศูนย์การค้ามีการใช้ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ซึ่งเป็นกระบวนการควบคุมสภาวะของอากาศเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ โดยทั่วไป ปัจจัยหรือพารามิเตอร์ของอากาศที่ต้องควบคุมประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด การกระจายลม และปริมาณลม ระบบปรับอากาศประเภทนี้ประกอบด้วยระบบน้ำเย็น(Chilled Water System) โดยมีเครื่องทำน้ำเย็น(Chiller) ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็นจ่ายให้แก่เครื่องส่งลมเย็น (Air Handling Unit ; AHU) เพื่อทำการปรับอากาศให้แก่บริเวณพื้นที่การผลิต พื้นที่สำนักงาน หรือศูนย์การค้า และเพื่อควบคุมสภาวะอากาศในการผลิต ส่วนความร้อนจากระบบจะถูกระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมที่หอทำความเย็น (Cooling Tower)

สัดส่วนการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ แสดงดังตาราง

ส่วนประกอบในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ พลังงาน (ร้อยละ)
เครื่องทำน้ำเย็น 50-60
เครื่องสูบน้ำเย็นและน้ำหล่อเย็น 15-25
หอทำความเย็น 4-8
เครื่องส่งลมเย็น 15-25

ตัวอย่างการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์สามารถทำได้ ดังนี้
1. กำหนดเวลาเปิด-ปิดเครื่องทำน้ำเย็นให้เหมาะสม
2. การเพิ่มประสิทธิภาพในระบบน้ำหล่อเย็นของเครื่องทำน้ำเย็น
3. การปรับตั้งอุณหภูมิของเครื่องทำน้ำเย็นให้เหมาะสม
4. การทำความสะอาดคอนเดนเซอร์เครื่องทำน้ำเย็น
5. การเลือกเดินเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงเป็นหลัก
6. การใช้เครื่องทำน้ำเย็นในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
7. การหรี่วาล์วที่ออกจากปั๊มเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำ
8. การทยอยเพิ่มภาระการปรับอากาศ
นอกจากวิธีข้างต้นแล้วในการอนุรักษ์พลังงานระบบปรับอากาศ จำเป็นที่จะต้องประเมินสมรรถนะการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ด้วยการตรวจวัดค่าต่างๆ เช่น
– วัดกำลังไฟฟ้า (Power Meter) วัดค่ากำลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าเครื่องทำน้ำเย็น หน่วยเป็นกิโลวัตต์ (kW)
– วัดอัตราการไหลของน้ำเย็นที่ผ่านเครื่องสูบน้ำเย็นในรูปของ ลิตรต่อวินาที (L/s) หรือแกลลอนต่อวินาที (GPM)
– วัดค่าอุณหภูมิน้ำเย็นเข้าและออกเครื่องทำน้ำเย็นในหน่วยองศาเซลเซียส

เครื่องมือที่ใช้ตรวจในระบบปรับอากาศ (Online Measuring Instruments in Chiller)

FLUXUS F501 แบรนด์ FLEXIM
– มีความแม่นยำในการตรวจวัดสูง ด้วยการตรวจวัดแบบ Bi-directional
– เซ็นเซอร์มีความทนทาน มาตรฐานการกันน้ำและฝุ่น IP67
– ใช้หลักการตรวจวัดอัตราการไหลชนิด Transit time Ultrasonic
– ใช้งานได้ที่อุณหภูมิ -10…+60°C
– ชุดควบคุมมีหน้าจอแสดงผลการตรวจวัด หรือสามารถแสดงผลผ่านอุปกรณ์อื่นด้วยการส่งสัญญาณขาออกชนิด 4…20 mA
– มีหน่วยความจำ (data logger) สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 100,000 ค่า
– ใช้ในการตรวจวัดค่าได้ทั้งน้ำสะอาด น้ำเสีย กระบวนการผลิตน้ำดื่ม เป็นต้น

METSEPM2230 แบรนด์ Schneider Electric
– เครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าตระกูล EasyLogic
– ค่าไฟฟ้าที่มิเตอร์ PM2230 สามารถวัดได้
– Calculated neutral current
– Active power P, P1, P2, P3
– Current I, I1, I2, I3
– Peak demand power PM, QM, SM
– Voltage U, U21, U32, U13, V, V1, V2, V3
– Peak demand currents
– Reactive power Q, Q1, Q2, Q3
– Demand power P, Q, S
– Unbalance current
– Active, reactive, apparent energy (signed, four quadrant)
– Apparent power S, S1, S2, S3

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ : คุณปทิตตา  โทร. 092-258-1144  หรือ  Line ID: @entech

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save