ชุดเก็บตัวอย่างแบบไอโซไคเนติกสำหรับการตรวจวัดปริมาณโลหะหนัก
ชุดเก็บตัวอย่างแบบไอโซไคเนติกสำหรับการตรวจวัดปริมาณโลหะหนัก
ชุดเก็บตัวอย่างแบบไอโซไคเนติกสำหรับการตรวจวัดปริมาณโลหะหนัก |
โลหะหนัก (Heavy metal) ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่เกี่ยวข้อง และจากสิ่งแวดล้อมที่มีสารโลหะหนักปนเปื้อน โดยทั่วไปโลหะหนักที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่มีการปลดปล่อยออกจากปล่องระบายนั้น ได้แก่ สารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท แมงกานีส สารหนู โครเมียม โคบอลต์ ทองแดง นิกเกิล พลวง แทลเลียม และวาเนเดียม เป็นต้น การเกิดพิษจากสารโลหะมักพบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง ถ้าเนื้อเยื่อมีการสะสมของโลหะหนักในปริมาณที่มากเกินจะเกิดภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรง ซึ่งทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning) โดยอาจปนเปื้อนมาได้ทั้งในรูปแบบของก๊าซที่ลอยอยู่ในอากาศหรือจากแหล่งน้ำ ดิน และการปนเปื้อนในอาหาร
ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมมลพิษที่เกิดจากสารจำพวกโลหะหนักเหล่านี้ และเพื่อที่จะทำการตรวจสอบปริมาณของสารพิษดังกล่าวเพื่อทำการควบคุมนั้นจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการในการเก็บตัวอย่างสารที่มีความแม่นยำ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เราจึงขอเสนอชุดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างและทำการตรวจวัดปริมาณของโลหะหนัก ที่ใช้หลักการของ Isokinetic แบบอัตโนมัติ ST5 Evo จากแบรนด์ Dado lab ประเทศอิตาลี
การหาปริมาณของโลหะหนักทำได้ 2 วิธี ได้แก่ EN14385 และ EPA 29 ซึ่งสามารถหาปริมาณของโลหะหนักได้ทั้งในรูปแบบที่ปนเปื้อนในอนุภาคฝุ่นและในก๊าซ โดยขั้นตอนแรกในการเก็บจะใช้ตัวกรองที่เหมาะสมซึ่งก็จะสามารถแยกฝุ่นละอองออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่โลหะหนักในสถานะของก๊าซจะถูกดักจับโดยสารละลายเฉพาะที่อยู่ในชุด Impinger ทั้งวิธีแบบ EN14385 และวิธีแบบ EPA 29 จำเป็นที่ต้องใช้ระบบตัวดูดซับโดยชุด Impinger ที่ติดตั้งอยู่ในชุดตรวจวัดแบบไอโซไคเนติก
การเก็บตัวอย่างก๊าซแบบทางหลัก หรือ “Main line” ที่เป็นการเก็บตัวอย่างก๊าซโดยทั่วไปนั้นจะเป็นไปตามวิธีของ EN13284 หรือ EPA5 ซึ่งแตกต่างกันเพียงชุด Impinger ที่ใช้เท่านั้น วิธีการเก็บตัวอย่างแบบ EN14385 ก็คล้ายๆกับวิธีการเก็บตัวอย่างอื่นๆ เช่น EN13211 สำหรับการเก็บตัวอย่างปรอท EN1911 สำหรับการเก็บตัวอย่างคลอไรด์ หรือ EN14791 สำหรับการเก็บตัวอย่าง SOx ซึ่งก็จะมีวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ในแบบที่เรียกว่า “Side stream” ซึ่งจะเป็นวิธีที่มีการแยกเส้นทางของก๊าซออกจากทางหลักหลังจากที่ก๊าซผ่านตัวกรองแล้วออกเป็น 2 ทาง หรือมากกว่านั้น
หากเปรียบเทียบวิธีการเก็บตัวอย่างแบบ “Main line” และ “Side stream” จะพบว่าวิธีแบบ “Side stream” นั้นมีความซับซ้อนและต้องการผู้มีความชำนาญในการดำเนินการมากกว่า แต่วิธีดังกล่าวทำให้อัตราการไหลภายในชุดอุปกรณ์นั้นต่ำลง จึงจะทำให้อากาศที่ดูดเข้ามามีเวลาสัมผัสกับตัวทำละลายได้มากขึ้นจึงทำให้สามารถหาปริมาณของสารมลพิษที่ความเข้มข้นต่ำได้
สำหรับการติดตั้งชุด Impinger ทั้ง 2 แบบ นั้น เป็นไปตามรูปด้านล่าง
การติดตั้งแบบ Main Line
1. หัวเก็บตัวอย่าง
2. โพรบ
3. แผ่นกรอง
4. Dryer cartridge
5. วาล์ว
6. ปั๊ม
7. เครืองวัดปริมาณก๊ซ
8. ชุด Impinger
9. เครื่องวัดอัตราการไหลของก๊าซ
P, T = เครื่องวัดความดัน และอุณหภูมิ
การติดตั้งแบบ Side Stream
1. หัวเก็บตัวอย่าง
2. โพรบ
3. แผ่นกรอง
4. Dryer cartridge
5. วาล์ว
6. ปั๊ม
7. เครื่องวัดปริมาณก๊าซ
8. ชุด Impinger
8a. ชุด impinger อีกสายหนึง
9. เครื่องวัดอัตราการไหลของก๊าซ
P, T = เครื่องวัดความดัน และอุณหภูมิ
Sampling line composition:
1) Gooseneck with interchangeable nozzles
2) Type S Pitot Tube
3) Heated Probe mod. HP5
4) Inner tube (and optional secondary gas sampling line)
5) Slide and Lock Device
6) HUB for Outstack filterholder and 4DL manifold
7) Filterholder and side sampling connector (derivation)
8) Impingers train for side sampling
9) Impingers train for main line (water content determination)
10) Athermal Box w/ support foam
11) 100 cc Silica Gel protection trap for side sampling line
12) QB1 V1.5 (Side sampler)
13) 1 Lt Silica Gel protection trap for side sampling line
14) Umbilical cable including 4TC + Pitot tube + 2 Thermoregulators + Suction tube)
15) Automatic Isokinetic Sampler Mod. ST5 Evo
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
หน่วยงานภาคตะวันออก คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech