Detecting Gas Saving Lives
Detecting Gas Saving Lives
Detecting Gas Saving Lives |
VOCs : a very real danger |
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) มักปะปนในสภาพแวดล้อมการทำงาน สารประกอบส่วนใหญ่จะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อุณหภูมิห้อง จะเป็นของเหลวที่เป็นไอระเหยง่าย และยังมีแนวโน้มที่จะเป็นพิษอีกด้วย
VOCs เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง โดยพบในสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ตัวทำละลาย, สี, ทินเนอร์ และน้ำยาล้างเล็บ ตลอดจนไอระเหยจากเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล, น้ำมันให้ความร้อน, น้ำมันก๊าด และน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งในกลุ่มนี้ยังรวมถึง เบนซิน, บิวทาไดอีน, เฮกเซน, โทลูอีน และไซลีน เป็นต้น
VOCs ที่เป็นพิษ เช่น เบนซีน มีผลกระทบต่อสุขภาพเรื้อรัง เช่น โลหิตจาง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว สารเหล่านี้เป็นอันตรายมาก เนื่องจากถูกใช้ทั่วไปในกระบวนการผลิต เช่น ยาง สีย้อม และผงซักฟอก นอกจากนี้ยังเป็นตัวตั้งต้นของ VOCs อื่นๆ เช่น โทลูอีน ฟีนอล และอนิลีน เช่นเดียวกันกับที่พบในน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน
หลายอุตสาหกรรมมีการใช้ VOCs ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่ง VOCs จำนวนมากมาจากการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี โดยมีความสำคัญในการผลิตสีย้อม, พลาสติก, ผงซักฟอก, ตัวทำละลาย, สี, ยางสังเคราะห์ และยา ซึ่งการสัมผัสกับสารประกอบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง จัดเก็บ ใช้งาน หรือมาจากการรั่วไหล ดังนั้น การทำงานโดยเฉพาะในพื้นที่อับอากาศควรจะได้รับการตรวจติดตามและตรวจจับ VOCs ด้วย
อันตรายจาก VOCs |
อันตรายจาก VOCs ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การทำงาน ซึ่ง VOCs จะหนักกว่าอากาศ ทำให้เกิดการสะสมของ VOCs ในพื้นที่อับอากาศ อาจส่งผลอันตรายแก่ชีวิตของผู้ปฏิบัติงานจากการขาดออกซิเจน
ก๊าซไวไฟจะมีการกำหนดค่าความเข้มข้นต่ำสุด เป็นค่า Lower Explosive Limit (LEL) ซึ่งเป็นค่าที่กำหนดไว้ก่อนเกิดการติดไฟ แต่ไอระเหย VOCs มักจะมีค่า LEL ต่ำกว่าก๊าซไวไฟ เช่น มีเทน (CH4) ที่เป็นก๊าซไวไฟ ถูกกำหนดโดย ATEX ให้มีค่า LEL 44,000 ppm เท่ากับ CH4 4.4% vol ในอากาศ ส่วนเบนซีนมีค่า LEL เพียง 13,000 ppm (1.3% vol)
ความเป็นพิษของ VOCs |
โดยทั่วไปแล้วพิษของ VOCs จะเป็นแบบเรื้อรังมากกว่าแบบเฉียบพลับ หมายความว่าผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นบางครั้งหลังจากการสัมผัส แต่ไม่ใช่กับกรณีของเบนซีน (ตารางที่ 1) ประมาณ 50 ppm หากสูดดมอาจส่งผลให้ปวดศีรษะ ง่วงซึม และที่ประมาณ 500 ppm อาการก็จะปรากฎชัดเจนหลังจากสัมผัสเพียงหนึ่งชั่วโมงที่ความเข้มข้นสูงกว่า 1,500 ppm จะแสดงอาการรุนแรง และที่ความเข้มข้นที่ 7,500 เพียงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอันตรายต่อชีวิต หากเกิน 20,000 ppm จะกดระบบประสาทส่วนกลาง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต
ตารางที่ 1 : ผลจากการสูดดมเบนซีนเป็นหน่วยหนึ่งส่วนในล้านส่วน
Benzene (ppm) | Signs and symptoms |
50-150 | Headache, lethargy, weakness (5 hours) |
500 | Symptoms of illness (60 minutes) |
1,500 | Serious symptoms (60 minutes) |
7,500 | Dangerous to life (30 minutes) |
20,000 |
Central nervous system depression, cardiac arrhythmia, respiratory failure and death
(5 -10 minute exposure)
|
ผลกระทบของการสัมผัส VOCs ระดับต่ำส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี การสัมผัสอาจเกิดจากการสูดดมหรือสัมผัสทางผิวหนังหรือดวงตา การสูดดมมีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากไอระเหยสามารถผ่านเยื่อบางๆ ของปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ โดยผลกระทบอาจมีตั้งแต่การระคายเคืองของทางเดินหายใจ ไปจนถึงความเสียหายของระบบประสาทและมะเร็ง อาการทางระบบประสาทในระยะยาว รวมถึงการบกพร่องของความจำ การตอบสนอง ความสมดุล และการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา ผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลาย อาจรวมถึงอาการสั่น และการเคลื่อนไหว ความผิดปกติทางอารมณ์ (อาการซึมเศร้า หงุดหงิด และเหนื่อยล้า) นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความเสียหายของไต ภูมิคุ้มกัน และอัตราการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น
การเฝ้าระวัง |
ค่าขีดจำกัดสารเคมีที่ยอมให้สัมผัสได้ในสถานที่ทำงาน (OELs) ถูกกำหนดมาเพื่อป้องกันผู้ใช้งานเรื่องผลเสียต่อสุขภาพจากการสัมผัสกับสารอันตราย
OEL คือ ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศในสถานที่ทำงานภายใต้สภาวะที่กำหนดโดยเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดอาจสัมผัสสารเคมีที่ระดับดังกล่าว เช่น ในสหราชอาณาจักร ค่า OELs มีรายการอยู่ใน EH40/2005 Workplace Exposure Limits ซึ่งเป็นเอกสารแสดงค่าขีดจำกัดประมาณ 500 สาร โดยความรับผิดชอบในส่วนนี้จะตกอยู่กับนายจ้าง ดังนั้น เครื่องตรวจจับก๊าซพกพาส่วนบุคคลจึงเป็นวิธีเดียวที่จะตรวจสอบไม่ให้ค่า OELs เกิน โดยค่า OELs จะถูกกำหนดไว้ 2 ประเภท ดังนี้
TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน โดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอนุญาตให้มีช่วงที่สูงกว่าขีดจำกัด TWA แต่ยังคงไม่เกินค่า STEL หากไม่มีการบังคับใช้ค่า STEL แนวทางทั่วไป คือการกำหนดขีดจำกัดที่เทียบเท่ากับค่า STEL ระหว่างสองถึงห้าเท่าของ TWA เฉลี่ย 10 ถึง 15 นาที
เครื่องมือตรวจวัดส่วนใหญ่ประกอบด้วยสัญญาณเตือนอย่างน้อยสามรายการแยกจากกันสำหรับก๊าซพิษแต่ละประเภทที่ตรวจวัด โดยเครื่องวัดก๊าซพิษจะมีสัญญาณเตือน TWA ซึ่งจะเปิดใช้งานทันทีเมื่อความเข้มข้นเกินค่าที่กำหนด
VOCs จำนวนมากก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิด ความเป็นพิษ ซึ่งมีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน (ตารางที่ 2) ระดับการแจ้งเตือนที่ตั้งไว้เพื่อตรวจสอบค่าความเข้มข้น TWA, STEL มักจะต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้สำหรับค่า LEL ในขณะที่ pellistor (catalytic hot bead หรือ วีทสโตน บริดจ์) เป็นเซ็นเซอร์ทั่วไปสำหรับตรวจวัดก๊าซไวไฟในระดับ LEL แต่ไม่นิยมใช้สำหรับก๊าซพิษ เซ็นเซอร์ Photoionization (PID) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับตรวจวัดสารระเหยที่เป็นพิษ
ตารางที่ 2 : ตารางค่า OEL, LEL ของก๊าซไวไฟและก๊าซพิษ
VOC | UK OEL5 | 100% LEL* (vol. %) | 5% LEL (as ppm) |
Acetone |
TWA 500ppm
STEL 1500ppm
|
2.5 | 1250ppm |
Benzene | TWA 1ppm | 1.2 | 600ppm |
Hexane | TWA 20ppm | 1.0 | 500ppm |
Hydrogen sulphide |
TWA 5ppm
STEL 7ppm
|
4.0 | 2000ppm |
Isopropyl alcohol (also propan-2-ol) |
TWA 400ppm
STEL 500ppm
|
2.0 | 1000ppm |
Styrene |
TWA 100ppm
STEL 250ppm
|
1.0 | 500ppm |
Toluene |
TWA 50ppm
STEL 100ppm
|
1.0 | 500ppm |
ระบบตรวจวัดก๊าซรั่วไหล
– มีหน้าจอแสดงผลแบบ LCD สามารถแสดงผลค่าการวัดแบบต่อเนื่อง หน่วยการวัด พร้อมกราฟแสดงแนวโน้มค่าการตรวจวัด
– สามารถติดตั้งในพื้นที่อันตรายได้เนื่องจากตัวเครื่องป้องกันระเบิด
– มีไฟ LED แจ้งเตือนเมื่อเกินค่าที่กำหนด
– มีสัญญาณขาออกแบบอนาล็อก 4-20 mA สามารถเชื่อมต่อกับระบบ PLC,DCS ได้
– รองรับการตรวจวัดกลุ่มก๊าซอินทรีย์ระเหยง่าย (Tvocs) มากกว่า 100 ชนิด
– แสดงผลเป็นค่าการวัดบนผังของโรงงานจริง
– สามารถแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ หรือส่งข้อความผ่านไลน์ Application กรณีค่าก๊าซเกินระดับ Alarm
– ดูค่าจริงแบบแสดงผลทันทีผ่าน Entech connect
– มีระบบบันทึกข้อมูลแบบกราฟเพื่อดูแนวโน้มการรั่วไหลของก๊าซได้