ระบบตรวจก๊าซแอมโมเนียที่เกิดจากการรั่วไหล

ระบบตรวจก๊าซแอมโมเนียที่เกิดจากการรั่วไหล

ระบบตรวจก๊าซแอมโมเนียที่เกิดจากการรั่วไหล

แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์อย่างมากในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม

ภาคเกษตรกรรม : 
แอมโมเนียส่วนใหญ่ประมาณ85% นำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยโดยเฉพาะใช้ผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต(ammonium nitrate) และปุ๋ยยูเรีย (urea)

ภาคอุตสาหกรรม : 
แอมโมเนียใช้เป็นสารทำความเย็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมห้องเย็น เช่น โรงผลิตอาหารแปรรูปแช่แข็ง โรงทำไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็ง และห้องแช่แข็ง นอกจากนี้แอมโมเนียยังสามารถทำปฏิกิยากับสารอื่นๆ ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในโรงงานทำเส้นใยไนลอน นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก อีกด้วย

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากแอมโมเนียซึ่งเกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มักจะเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมห้องเย็น  โรงน้ำแข็ง  โรงงานผลิตอาหารแปรรูป โรงงานทำไอศครีม  โดยสาเหตุหลักเกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์ เช่น วาล์วรั่ว ท่อขนส่งแตก หรือประเก็นรั่ว เป็นต้น ส่วนในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีอุบัติเหตุจากแอมโมเนียเกิดขึ้นหลายครั้ง องค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) จึงได้จัดทำมาตรฐานข้อมูลอุบัติภัยจากการรั่วไหลของแอมโมเนีย (Accidental Release Information Program : ARIP) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง

ผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยเมื่อเกิดการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนีย
       แอมโมเนีย จัดเป็นก๊าซพิษที่อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ หากสัมผัสกับก๊าซชนิดนี้ที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ เป็นเวลานาน อ้างอิงตามค่า TWA คือ ระดับค่าเฉลี่ยความเข้มข้นสารเคมีในอากาศเฉลี่ยตลอดเวลา 8 ชม.ต่อวัน ของแอมโมเนียที่ยอมรับได้ คือ 25 ppm โดย ACGIH (Association advancing occupational and environmental health) หรือ องค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งประเทศอเมริกา นอกจากนี้ ก๊าซแอมโมเนียยังจัดเป็นสารเคมีที่สามารถลุกติดไฟได้เอง (Auto ignition) ที่อุณหภูมิ 650°C หรือในรูปของก๊าซจะสามารถติดไฟได้เมื่อความเข้มข้นเกิน 15.5%vol. ดังแสดงในรูป

โดยปกติ ก๊าซแอมโมเนียจะถูกอัดบรรจุในถังในรูปของเหลวภายใต้ความดัน 150 ปอนด์ ที่อุณหภูมิ -33°C โดยของเหลวแอมโมเนียมีอัตราการขยายตัวกลายเป็นไอในอัตราส่วน 1:850 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจมาก บ่งบอกถึงอันตรายที่เราอาจจะได้รับหากเกิดการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนียในถัง นั่นคือ 1 ส่วนของแอมโมเนียเหลวที่รั่วออกสู่บรรยากาศจะกลายเป็นก๊าซแอมโมเนียได้ 850 ส่วน และนอกจากนี้จุดสังเกตุที่สำคัญของการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนีย คือ จะเกิดหมอกควันสีขาวขึ้น เนื่องจากก๊าซแอมโมเนียที่รั่วจะทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศกลายเป็นก๊าซแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นควันสีขาว แสดงภาพภาพควันสีขาวดังรูป

ภาพเหตุการณ์ก๊าซแอมโมเนียรั่วจากโรงงานน้ำแข็งกำแพงไอซ์จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 ที่มาของภาพ: Modernine TV [8]

พบว่าอุบัติภัยจากก๊าซแอมโมเนียเกิดขึ้นทุกปีในช่วง พ.ศ. 2548-2552 สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลของแก๊สทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและต้องอพยพออกนอกพื้นที่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับก๊าซแอมโมเนียต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการทำงานและควรมีความรู้เกี่ยวกับก๊าซแอมโมเนียเป็นอย่างดีเพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติภัย

ระบบตรวจก๊าซแอมโมเนียและระบบการแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุ

ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก
1. เซนเซอร์ตรวจจับก๊าซรั่วไหล (Gas detector) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจวัดก๊าซและส่งสัญญาณไปชุดควบคุม
2. ชุดควบคุมก๊าซมีหน้าจอแสดงผลแบบ Real time (Gas controller) ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากเซนเซอร์แล้วแสดงผลทันทีแบบตัวเลขและสามารถออกคำสั่งเพื่อแจ้งเตือนกรณีก๊าซสูงกว่าระดับค่ามาตรฐานที่กำหนดตั้งค่าไว้
3. ระบบการแจ้งเตือน (Alarm) ซึ่งทำหน้าที่รับคำสั่งจากชุดควบคุมเพื่อแจ้งเตือนในรูปแบบของเสียงและแสงเพื่อแจ้งเหตุให้ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่อพยพ
4. ระบบการส่งสัญญาณควบคุมเพื่อสั่งหยุดการจ่ายก๊าซแอมโมเนีย หรือสั่งตัดระบบไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อป้องกันเหตุลุกลาม

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
1. อุตสาหกรรมที่ใช้ Ammonia เป็นสารทำความเย็น

2. อุตสาหกรรมที่ใช้ Ammonia เป็นสารตั้งต้น

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ : คุณวศิกา โทร. 092-249-8787 Line ID: @entechsi

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save