แนะนำผลิตภัณฑ์ เครื่องไตเตรทอัตโนมัติ แบรนด์ SI Analytics ประเทศเยอรมนี
แนะนำผลิตภัณฑ์ เครื่องไตเตรทอัตโนมัติ แบรนด์ SI Analytics ประเทศเยอรมนี
การไตเทรต (Titration) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางเคมี ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่ 200 ปีที่แล้ว เหมาะสำหรับในการวิเคราะห์หาปริมาณของสารที่ไม่ทราบความเข้มข้น (unknown) ด้วยการวัดปริมาตรของสารละลาย ซึ่งปริมาตรของสารละลายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณสาร โดยทำปฏิกิริยากับสารที่ทราบปริมาณหรือความเข้มข้นที่แน่นอน ซึ่งองค์ประกอบและเครื่องแก้วที่คุ้นเคยกันดีในการไทเทรต ได้แก่ บิวเรต (buret) ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ปิเปต (pipet) และสารละลายมาตรฐาน (standard solution) ดังแสดงในรูปที่ 1
เทคนิคการไตเทรตมีการใช้งานอย่างหลากหลายทั้งในกระบวนงานวิจัยและพัฒนา (research and development) ทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่น การไตเตรตหาปริมาณซีโอดี (COD) บีโอดี (BOD) ความกระด้าง (hardness) และความเป็นด่าง (alkalinity) รวมทั้งการตรวจสอบตัวอย่างในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น ในอุตสาหกรรมยา ได้แก่การหาปริมาณแอสคอบิก (ascorbic acid) ในวิตามินซีอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่นการปริมาณซัลไฟด์ในไวน์
รูปที่ 1 ภาพแสดงอุปกรณ์เครื่องแก้วในการไตเตรทแบบธรรมดา
รูปที่ 2 ภาพแสดงเครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติ
การไตเตรทแบบธรรมดา หลักสำคัญสุด คือ ผู้วิเคราะห์ต้องสามารถมองเห็นจุดยุติ (end point) อย่างชัดเจนถึงจะให้ผลการวิเคราะห์ได้แม่นยำ ทำให้การไตเตรทแบบธรรมดาจึงมีข้อด้อยในหลายๆ ด้านดังนี้
• ความผิดพลาดจากการสังเกตจุดยุติในการไตเตรท ตัอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา การวิเคราะห์หาปริมาณแอสคอบิกในตัวยา ซึ่งตัวอย่างยาบางชนิดต้องมีการเคลือบด้วยพอลิเมอร์บางตัวและมีการผสมสี ดังนั้นตัวอย่างที่ผ่านการบดแล้วนำไปละลายด้วยตัวทำละลายก็จะมีสีเมื่อนำไปไตเตรทด้วยไอโอดีน สีที่เปลี่ยนในขณะการไตเตรทอาจจะไม่ชัดเจน ทำให้จุดยุติเห็นได้ไม่ชัดเจน
• ตัวอย่างที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างชีส เนย อาหารป่น จะต้องมีการเตรียตัวอย่างที่ดี เพื่อให้วิเคราะห์ได้รวดเร็วและเห็นการเปลี่ยนแปลงสีที่ชัดเจน และบางตัวอย่างที่มีความขุ่นมากหรือมีตัวรบกวน การกรองจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่ทั้งนี้ก็อาจจะทำตัวอย่างที่เราสนใจสูญเสียระหว่างกระบวนการกรอง
• การอ่านค่าปริมาตรในการไตเตรทผิดพลาดเนื่องจากขีดจำกัดความละเอียดของเครื่องแก้วที่ใช้ในการไตเตรท
ขีดจำกัดที่เกิดขึ้นในการใช้วิธีไตเตรทแบบธรรมดา ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องการไตเตรทแบบอัตโนมัติ (Autotitrator) เพื่อสามารถที่จะตอบโจทย์และเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น เครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติ ดังแสดงในรูปที่ 2 จะประกอบด้วย ขวดสำหรับรรจุตัวอย่างทำให้ลดเวลาที่จะต้องเติมสารในการไตเตรท และใช้อิเล็กโทรด (electrode) เป็นตัวตรวจวัดทำให้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างได้หลากหลายขึ้น
ข้อได้เปรียบของเครื่องไตเตรตอัตโนมัติ
• ใช้ตัวอย่างในการทดลองน้อยกว่า เหมาะสำหรับตัวอย่างที่ปริมาณน้อยๆ
• ให้ค่าความเที่ยงตรง (precision) สูง เนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติที่ควบคุมโดยเครื่อง ทำให้ลดความคาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดจากผู้ทำการทดลองได้
• ปริมาตรของ titrant ที่น้อยที่สุดในการไตเตรท 02 มิลลิลตร เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มีความเข้มข้นน้อยๆ
• ไม่จำเป็นต้องใช้อินดิเคเตอร์ เพราะใช้โพรบในการวัด ทำให้ขีดจำกัดในการตัวอย่างน้อยลง โดยเฉพาะทางด้านอาหารที่มีองค์ประกอบหลากหลาย และตัวอย่างที่ไม่ละลายน้ำ
• ลดความผิดพลาดในขั้นตอนการคำนวณและการบันทึกผลการทดลอง
การใช้งาน (Applications) ของเครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติ
การประยุกต์ใช้งานในการวิเคราะห์น้ำ น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อม
• การวัดค่า pH, สภาพความเป็นด่าง
• ปริมาณไนโตรเจน (TKN)
• ความกระด้างทั้งหมด (total hardness)
• ซีโอดี (COD)
• คลอไรด์ในน้ำเสีย
• คลอรีนอิสระและคลอรีนรวมในน้ำดื่ม
การประยุกต์ใช้งานทางด้านอาหาร
• การหาปริมาณกรดทั้งหมด (total acidity)
• แคลเซียมในนม
• น้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar)
• กรดระเหยง่าย (volatile acid)
การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
• TAN และ TBN ในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
• Hydroxyl number
เครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมนี แบรนด์ SI Analytics มีด้วยกันหลายรุ่นประกอบด้วย TITRONIC300, TITRONIC500, TitroLine5000, TitroLine7000, TitroLine7500KF, TitroLine7750 และ TitroLine7800 สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ต้องการก้าวสู่มาตรฐาน Thailand 4.0 เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการศึกษาและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ วันนี้เราขอนำเสนอ 2 รุ่น คือ รุ่น TitroLine5000 และ TitroLine7000
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคุณสมบัติและการใช้งานของเครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติ TitroLine5000 กับ TitroLine7000
คุณสมบัติ/การใช้งาน | TitroLine5000 | TitroLine7000 |
ลักษณะเครื่อง | ||
หัวเปลี่ยนอัจฉริยะ | ✓ | ✓ |
ไตเตรทควบคุมด้วยมือ | ✓ | ✓ |
ไตเตรทแบบอัตโนมัติ | ✓ | ✓ |
การเตรียมสารละลาย (แบบธรรมดาและอัตโนมัติ) | – | ✓ |
การใช้ร่วมกับโปรแกรม TitriSoft | – | ✓ |
ปฏิกิริยารีด็อกซ์ (COD, lodometry, permanganate) | ✓ | ✓ |
ตัวอย่างละลายน้ำ (Alkalinity, TKN) | ✓ | ✓ |
ตัวอย่างไม่ละลายน้ำ (TAN/TBN, FFA) | – | ✓ |
ซัลเฟอร์ในเครื่องดื่ม | – | ✓ |
ซัลไฟด์และเมอร์เคปเทน | – | ✓ |
การไตเตรทโฟโตเมทริก | – | ✓ |
สนใจผลิตภัณฑ์กรุณาติดต่อ
หน่วยงานเอกชนติดต่อ คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการติดต่อ คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
ภาคตะวันออกติดต่อ คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech