การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย Dissolved Oxygen (D.O.) Meters
การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย Dissolved Oxygen (D.O.) Meters
การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย Dissolved Oxygen (D.O.) Meters |
การเลี้ยงกุ้งเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและประเทศ โดยการเลี้ยงกุ้งจำเป็นต้องเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต จึงต้องควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทั้งในระบบน้ำหมุนเวียน และระบบปิด ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ความชำนาญและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขและลดปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตของกุ้ง ซึ่งนำไปสู่ผลผลิต โดยตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่มีความสำคัญในการเลี้ยงกุ้ง คือ ความเค็ม อุณหภูมิ ความโปร่งแสงของน้ำ ปริมาณของสารแขวนลอย ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ความเป็นกรดด่าง ความกระด้าง ปริมาณธาตุอาหาร ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปริมาณโลหะหนัก และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
จดหมายข่าวเอ็นเทคฯ ฉบับนี้ขอกล่าวถึง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (Dissolved oxygen) ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญเนื่องจาก ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของกุ้ง เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโต โดยปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีผลต่อการกินอาหาร ถ้าปริมาณออกซิเจนต่ำเกินไปอาจมีผลทำให้กุ้งตาย ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับค่าความเป็นกรดด่าง คือมีค่าต่ำสุดช่วงเช้ามืด เนื่องจากใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์และจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตในบ่อเลี้ยง ช่วงกลางวันปริมาณออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นและสูงที่สุดในช่วงบ่าย เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช
ความสามารถในการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความเค็ม น้ำที่มีความเค็มและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ออกซิเจนจะละลายได้น้อยลง นอกจากนี้ปัญหาการขาดออกซิเจนมักพบในบ่อเลี้ยงที่มีกุ้งหนาแน่น เมื่อมีการให้อาหารในปริมาณมากในแต่ละวัน อาหารที่เหลือและของเสียจะมีการดึงออกซิเจนไปใช้ในการย่อยสลาย รวมทั้งการหายใจของแพลงก์ตอนและกุ้ง มีผลทำให้ออกซิเจนในตอนเช้าลดต่ำลงมาก โดยออกซิเจนที่ต่ำกว่า 3 ppm กุ้งจะไม่แข็งแรงและกินอาหารลดลงกว่าปกติ และในช่วงที่กุ้งกำลังลอกคราบ ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกุ้งอาจจะลอกครอบแล้วตายได้ ปริมาณออกซิเจนในน้ำควรจะมีค่ามากกว่า 4 ppm ในช่วงเช้าตรู่ และช่วงกลางวันไม่ควรเกินจุดอิ่มตัว ดังนั้นจึงควรวัดค่าออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำอย่างน้อยวันละครั้งในช่วงเช้า และติดตามค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำสำหรับบ่อที่มีที่เลี้ยงกุ้งอย่างหนาแน่น เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงกุ้งในรุ่นต่อๆ ไป
จดหมายข่าวเอ็นเทคฯ ขอแนะนำ เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำจากแบรนด์ Sensortechnik Meinsberg ในเครือ Xylem ประเทศเยอรมนี รุ่น MF 41-N SMEK เหมาะสำหรับการตรวจวัดในฟาร์มสัตว์น้ำทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม วัดคุณภาพน้ำในระบบ ทนต่อการกัดกร่อน มาพร้อมกันเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิในตัวเครื่อง และหัวเซ็นเซอร์สามารถถอดเปลี่ยนได้
Oxygen sensor MF 41-N SMEK | |
Shaft | : plastic, O 12 mm |
Cathode | : platinum |
Anode | : Ag/AgCl |
Temperature sensor | : Pt 1000 |
Measuring principle | : amperometric |
Measuring range | : 0 … 20 mg/l, 0 … 200 % air saturation |
Temperature range | : -5 … 45°C |
Pressure | : < 1 bar |
ร่วมกับตัวคอนโทรลเลอร์รุ่น MV 5000 ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจวัดแบบต่อเนื่องด้วยฟังก์ชันที่ใช้งานง่าย มี OLED-display ขนาดใหญ่ และนอกจากนี้ตัวซอฟต์แวร์ยังมีการกำหนดค่าสอบเทียบ รวมทั้งสามารถแสดงผลและบันทึกค่าการวัดได้โดยตรงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยฟังก์ชัน USB
Controller รุ่น MV 5000 | |
Measuring ranges | : MV 5030 = 0 … 200 %, 0 … 20 mg/l |
Temperature measurement | : -10 … 130°C |
Controller outputs | : 2 limit relays, two-way contact, max. 250V AC/5 A |
Analogue outputs | : 2x 0(4) … 20 mA |
Interfaces | : USB (optional RS-232) |
Display | : graphic OLED 128 x 64 pixel |
Data logger | : with real time clock for 4000 data sets |