ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565
ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565
หลังจากสถานการณ์ด้านมลภาวะทางอากาศและโรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้หลายหน่วยงานมีความตื่นตัวและหาแนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ กรมอนามัยที่ได้ออกประกาศฉบับนี้ขึ้นมา เป็นประกาศที่ว่าด้วยเรื่องของ ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับอาคารสาธารณะในประเทศไทย เนื่องจากอาคารที่มีลักณะปิดทึบมักพบปัญหาด้านการระบายอากาศ รวมถึงการสะสมของมลภาวะอากาศภายในอาคาร ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพการทำงาน และความพึงพอใจในการเข้าอยู่อาศัยหรือเข้าใช้สอยอาคาร
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมถึงเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้เกิดการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการอยู่อาศัยหรือใช้สอยอาคาร
โดย “อาคารสาธารณะ” หมายถึง อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไปเพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา การศาสนา การสังคม การนันทนาการ หรือการพานิชกรรม ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศ ดังนี้
1) อาคารสำนักงาน
2) อาคารห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูปเปอร์มาร์เก็ต
3) อาคารศูนย์ประชุม หอประชุม ห้องประชุม ศูนย์แสดงสินค้า
4) อาคารสถานบริการตามกฏหมายว่าด้วยสถานบริการ
5) อาคารสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
6) อาคารสถานที่ออกกำลังกาย สถานกีฬาในร่ม
7) อาคารสถานศึกษา
8) อาคารโรงแรม
9) อาคารโรงมหรสพ
10) อาคารขนส่งสาธารณะ
11) หอสมุด หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถาน
12) อาคารศาสนสถาน
13) อาคารสถานดูแลผู้สูงอายุ
14) อาคารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ทั้งนี้ อาคารสาธารณะประเภทอื่นสามารถนำค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้อาคาร
นอกจากนี้ยังมีการระบุในเอกสารแนบท้ายเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้
1) คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ
1.1) ภาวะสบายเชิงความร้อน (Thermal comfort)
พารามิเตอร์ | ค่าที่ยอมรับได้ | หน่วย |
อุณหภูมิ (Temperature) | 24 – 26 | องศาเซลเซียส (oC) |
ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) | 50 – 65 | เปอร์เซ็นต์ (%) |
การเคลื่อนที่ของอากาศ (Air movement) | น้อยกว่า 0.30 | เมตรต่อวินาที (m/s) |
1.2) สารปนเปื้อนในอากาศ (Air contaminants)
พารามิเตอร์ | ค่าที่ยอมรับได้ | หน่วย |
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide, CO2) | ไม่เกิน 1,000 | หนึ่งในล้านส่วน (ppm) |
อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Particulate Matter with diameter less than 2.5 micrometers, PM2.5) |
ไม่เกิน 25 * (ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง) |
ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร (µg/m3) |
อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with diameter less than 10 micrometers, PM10) |
ไม่เกิน 50 * (ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง) |
ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร (µg/m3) |
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมด (Total Volatile Organic Compounds, TVOC) |
ไม่เกิน 1,000 | หนึ่งในพันล้านส่วน (ppb) |
ก๊าซคาร์บอนมอนอไซด์ (Carbon monoxide, CO) | ไม่เกิน 9 | หนึ่งในพันล้านส่วน (ppb) |
ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde, HCHO) | ไม่เกิน 0.08 | หนึ่งในล้านส่วน (ppm) |
ไม่เกิน 100 | ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร (µg/m3) | |
ก๊าซโอโซน (Ozone, O3) | ไม่เกิน 0.05 | หนึ่งในล้านส่วน (ppm) |
เชื้อแบคทีเรียรวม (Total Bacteria Count) | ไม่เกิน 500 | จำนวนโคโลนีต่อลูกบากศ์เมตร (CFU/m3) |
เชื้อรารวม (Total Fungal Count) | ไม่เกิน 500 | จำนวนโคโลนีต่อลูกบากศ์เมตร (CFU/m3) |
*ความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในอากาศ ที่สภาวะ 1 บรรยากาศ 25°C
2) วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือที่ใช้เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ
การตรวจวัดพารามิเตอร์ทางด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ควรทำการตรวจวัดต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจวัดต่อเนื่อง 8 ชั่วโมงได้ ให้ทำการตรวจวัดหาค่าเฉลี่ยแบบไม่ต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ทั้งหมด 4 ช่วงเวลา ตลอดระยะเวลาที่มีผู้ใช้งานอยู่ภายในอาคาร
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
testo รุ่น 400
พารามิเตอร์ |
อุณหภูมิ (Temperature)
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือ Hot-wire, thermistor, thermometer sling method, thermometer หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)
ตรวจวัดโดยใช้ Thin film capacitor, hygrometer, thermometer sling method, Wet and dry bult หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
การเคลื่อนที่ของอากาศ (Air movement)
ตรวจวัดโดยใช้ Hot-wire anemometer หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide, CO2)
การตรวจวัดแบบเบื้องต้น : ตรวจวัดโดยใช้ Non-dispersive infrared sensor, Electrochemical Oxidation, Photoacoustic spectroscopy หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกตามแนวทางของ ISO 16000-26:2012 หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
ก๊าซคาร์บอนมอนอไซด์ (Carbon monoxide, CO)
การตรววัดแบบเบื้องต้น : ตรวจวัดโดยวิธี Real-time electrochemical sensor หรือวิธีอื่นเทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกด้วย EPA IP-3A Detemination of Carbon Dioxide in Indoor Air Non-dispersive Infrared (NDIR)
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
Turnkey รุ่น DustMate
พารามิเตอร์ |
อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Particulate Matter with diameter less than 2.5 micrometers, PM2.5)
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
การตรจวัดแบบเบื้องต้น : การตรวจวัดโดยใช้วิธี Real-time piezoelectric หรือ Optical scattering หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกด้วยวิธี Standard gravimetric measurement ตามแนวทางของ ISO 16000-37:2019, Bata attenuation, Tapered Element Oscillating Microbalance (TEOM) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่าI am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with diameter less than 10 micrometers, PM10)
การตรจวัดแบบเบื้องต้น : การตรวจวัดโดยใช้วิธี Real-time piezoelectric หรือ Optical scattering หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกด้วยวิธี Standard gravimetric measurement ตามแนวทางของ ISO 16000-37:2019, Bata attenuation, Tapered Element Oscillating Microbalance (TEOM) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
ISC รุ่น Ventis Pro5 + PID
พารามิเตอร์ |
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมด (Total Volatile Organic Compounds, TVOC)
การตรจวัดแบบเบื้องต้น : การตรวจวัดโดยใช้วิธี Real-time photoionization detector หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึก โดยแยกตามชนิดของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจำนวน 12 ชนิด ที่มักพบในอาคาร ประกอบด้วย Benzene, Carbon tetrachloride, Chloroform, 1,2-Dichlorobenzene, 1,4-Dichlorobenzene, Dichloromethane, Ethyl benzene, Styrene, Tetrachloroethylene, Trichloroethylene, Toluene และ Xylene (o,m,p) ด้วย Gas Chromatography Mass Spectrometry (GC/MS) ตามแนวทางของ ISO 16000-6:2011 หรือ EPA Air Method, Toxic Organics-15 (TO-15) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า โดยผลรวมของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจำนวน 12 ชนิดควรน้อยกว่า 0.56 ppm
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
Drager รุ่น PAC 8000 + OV sensor
พารามิเตอร์ |
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde, HCHO)
การตรววัดแบบเบื้องต้น : ตรวจวัดโดยวิธี Real-time electrochemical sensor หรือวิธีอื่นเทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกตามแนวทางของ ISO 16000-3:2019 ด้วยการเก็บตัวอย่างโดย 2,4-Dinitrophenylhydrazine (DNPH) และวิเคราะห์ด้วย High-performance liquid chromatography (HPLC) หรือวิธีอื่นเทียบเท่า
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
Drager รุ่น PAC 8000 + Ozone sensor
พารามิเตอร์ |
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
ก๊าซโอโซน (Ozone, O3)
การตรววัดแบบเบื้องต้น : ตรวจวัดโดยวิธี Real-time electrochemical sensor หรือวิธีอื่นเทียบเท่า
การตรวจวัดเพื่อยืนยันผล : หากมีค่าเกินกว่าที่ยอมรับได้ควรตรวจวัดเชิงลึกด้วย Real-time chemiluminescence, ISO 10313: Ambient air-Determination of the mass concentration of ozone – chemiluminescence method หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด |
SKC รุ่น BioStage Pump Kit with QuickTake 30
พารามิเตอร์ |
วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือ |
เชื้อแบคทีเรียรวม (Total Bacteria Count)
ตรวจวัดโดยใช้ Impactor หรือเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับการเก็บตัวอย่างทางชีวภาพเก็บตัวอย่างโดยใช้อัตราการไหลที่ 28.3 L/min (1 ft3/min) เป็นเวลา 4 นาที หรือเทียบเท่าปริมาตรของอากาศ อาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้คือ Tryptone Soya Agar (TSA) ใช้อุณหภูมิ 35oC เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
เชื้อรารวม (Total Fungal Count)
ตรวจวัดโดยใช้ Impactor หรือเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับการเก็บตัวอย่างทางชีวภาพเก็บตัวอย่างโดยใช้อัตราการไหลที่ 28.3 L/min (1 ft3/min) เป็นเวลา 4 นาที หรือเทียบเท่าปริมาตรของอากาศ อาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้คือ Tryptone Soya Agar (TSA) ใช้อุณหภูมิ 35oC เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
ลูกค้าอุตสาหกรรมยาและโรงพยาบาล : คุณพรรณธิภา โทร. 063-902-9892
ลูกค้าอุตสาหกรรมทั่วไป : คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ : คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
หรือ Line ID : @entech