หลักการเลือกโพรบวัดความเร็วลม
หลักการเลือกโพรบวัดความเร็วลม
คุณมักพบปัญหาในการเลือกโพรบวัดความเร็วลมหรือไม่?
ต้องการวัดความเร็วลม แต่ไม่รู้ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรในการวัด เพราะหัววัดความเร็วลมนั้นมีหลายแบบ หลายประเภทด้วยกัน โดยปกติการวัดความเร็วลมนั้นมักจะทำการวัดกันอยู่ในช่วง 0 ถึง 100 m/s ซึ่งเราสามารถแบ่งความเร็วลมออกเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่
• ช่วงความเร็วลมต่ำ มีค่าความเร็วลมตั้งแต่ 0-5 m/s
• ช่วงความเร็วลมปานกลาง มีค่าความเร็วลมตั้งแต่ 5-40 m/s
• ช่วงความเร็วลมสูง มีค่าความเร็วลมตั้งแต่ 40-100 m/s
นอกเหนือจากนี้ อุณหภูมิก็เป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเลือกหัววัดความเร็วลม
บทความฉบับนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักความแตกต่างและวิธีการเลือกหัววัดความเร็วลมในแต่ละประเภทกันค่ะ
1. Thermal probe/Hot wire probe หรือหัววัดความเร็วลมแบบลวดความร้อน |
หลักการของ Thermal probe หรือ Hot wire probe นี้ จะมีลวดความร้อนที่มีการทำอุณหภูมิให้คงที่ เมื่อมีลมพัดผ่านลวดความร้อนนี้จะทำให้ลวดเย็นตัวลง เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ อัตราการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่เกิดขึ้นที่เส้นลวดแปรผันตรงกับอัตราเร็วของลมที่เคลื่อนที่ผ่านหัววัด สำหรับการวัดในช่วงความเร็วลมต่ำ โดยหัววัดแบบ Thermal probe ของ testo สามารถวัดความเร็วได้ตั้งแต่ 0 – 20 m/s และใช้งานที่อุณหภูมิสูงสุดถึง 70°C
หากมีการนำโพรบชนิดนี้ไปใช้ในท่อมีความการไหลแบบปั่นป่วน จะทำให้ผลการวัดมีค่าสูงกว่าแบบใบพัด เนื่องจากเกิดผลกระทบจากความเร็วลมในทุกทิศทางกับลวดความร้อน
2. Vane probe หรือหัววัดความเร็วลมแบบใบพัด |
หลักการของ Vane probe จะแปลงการหมุนของใบพัดเปลี่ยนเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยหัววัดแบบใบพัดจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายขนาด เช่น 16 mm, 100 mm ขึ้นอยู่กับหน้างานที่ใช้ เหมาะสำหรับการวัดในช่วงความเร็วลมปานกลาง อาจจะมีการไหลแบบปั่นป่วน เช่น บริเวณหน้ากริล โดยหัววัดแบบใบพัดของ testo ช่วงการวัดจะไม่ได้เริ่มจาก 0 เนื่องจากจะมีเรื่องของแรงเสียดทานในขณะที่ใบพัดเริ่มหมุนซึ่งจะเรียกว่า Start-up fault
3. หัววัดความเร็วลมแบบ Pitot tube |
Pitot tube ใช้หลักการวัดโดยอาศัยแรงดันต่างในท่อเพื่อหาค่า dynamic pressure ซึ่งมีหลักๆ 3 รูปแบบให้เลือกใช้งาน คือ แบบตรง, Type L และ Type S โดยแต่ละชนิด จะมีค่า Pitot tube factor ที่แตกต่างกัน หากนำไปใช้งานจำเป็นต้องป้อนข้อมูลของ factor เข้าไปคำนวณหาค่าความเร็วลมด้วย เช่น Pitot tube type L มีค่า factor เท่ากับ 1.0, แบบตรง มีค่า factor เท่ากับ 0.67 และการวัดความเร็วลมโดยใช้ Pitot tube เครื่องมือนั้นๆจะต้องสามารถวัดค่า differential pressure ได้ Pitot tube เหมาะสำหรับการวัดในช่วงความเร็วลมสูง หรือมีอุณหภูมิที่มากกว่า 350°C หรือหน้างานที่มีฝุ่นปริมาณมาก
เครื่องมือวัดลมที่สามารถใช้กับโพรบวัดลมข้างต้นได้
สนใจผลิตภัณฑ์หรือสอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339 หรือ Line ID : @entech