การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม และขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด
การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม และขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด
การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศในอุตสาหกรรม
|
การปรับอากาศเป็นการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด การกระจายความเย็น ให้ได้สภาวะที่ต้องการ โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ พลังงานที่ใช้ในระบบปรับอากาศคิดเป็นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาและทำความเข้าใจในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ เนื่องจากหากสามารถประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็นและปรับอากาศได้ ก็จะสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมาก
ตาราง แสดงการใช้ไฟฟ้าในอาคารแต่ละประเภทแยกตามกิจกรรม คือ ระบบทำความเย็น ระบบแสงสว่าง และอื่นๆ เป็นร้อยละของการใช้งาน (Lawrence Berkley Laboratory การพลังงานแห่งชาติ Energy Conservation in Conservation in Commercial Building ปี พ.ศ. 2528
ประเภทอาคาร | ระบบทำความเย็น | ระบบแสงสว่าง | อื่นๆ |
สำนักงาน | 50.0 | 25.0 | 25.0 |
โรงแรม | 61.0 | 15.3 | 23.7 |
ศูนย์การค้า | 60.0 | 25.0 | 15.0 |
สถานพยาบาล | 71.5 | 14.7 | 7.8 |
ประเภทของระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type Air Conditioner)
2. ระบบปรับอากาศแบบระบบ (VRV / VRF)
3. ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์
โรงงานและศูนย์การค้ามีการใช้ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ซึ่งเป็นกระบวนการควบคุมสภาวะของอากาศเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ โดยทั่วไป ปัจจัยหรือพารามิเตอร์ของอากาศที่ต้องควบคุมประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด การกระจายลม และปริมาณลม ระบบปรับอากาศประเภทนี้ประกอบด้วยระบบน้ำเย็น(Chilled Water System) โดยมีเครื่องทำน้ำเย็น(Chiller) ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็นจ่ายให้แก่เครื่องส่งลมเย็น (Air Handling Unit ; AHU) เพื่อทำการปรับอากาศให้แก่บริเวณพื้นที่การผลิต พื้นที่สำนักงาน หรือศูนย์การค้า และเพื่อควบคุมสภาวะอากาศในการผลิต ส่วนความร้อนจากระบบจะถูกระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมที่หอทำความเย็น (Cooling Tower)
สัดส่วนการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ แสดงดังตาราง
ส่วนประกอบในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ | พลังงาน (ร้อยละ) |
เครื่องทำน้ำเย็น | 50-60 |
เครื่องสูบน้ำเย็นและน้ำหล่อเย็น | 15-25 |
หอทำความเย็น | 4-8 |
เครื่องส่งลมเย็น | 15-25 |
ตัวอย่างการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์สามารถทำได้ ดังนี้
1. กำหนดเวลาเปิด-ปิดเครื่องทำน้ำเย็นให้เหมาะสม
2. การเพิ่มประสิทธิภาพในระบบน้ำหล่อเย็นของเครื่องทำน้ำเย็น
3. การปรับตั้งอุณหภูมิของเครื่องทำน้ำเย็นให้เหมาะสม
4. การทำความสะอาดคอนเดนเซอร์เครื่องทำน้ำเย็น
5. การเลือกเดินเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงเป็นหลัก
6. การใช้เครื่องทำน้ำเย็นในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
7. การหรี่วาล์วที่ออกจากปั๊มเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำ
8. การทยอยเพิ่มภาระการปรับอากาศ
นอกจากวิธีข้างต้นแล้วในการอนุรักษ์พลังงานระบบปรับอากาศ จำเป็นที่จะต้องประเมินสมรรถนะการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ด้วยการตรวจวัดค่าต่างๆ เช่น
– วัดกำลังไฟฟ้า (Power Meter) วัดค่ากำลังไฟฟ้าที่ป้อนเข้าเครื่องทำน้ำเย็น หน่วยเป็นกิโลวัตต์ (kW)
– วัดอัตราการไหลของน้ำเย็นที่ผ่านเครื่องสูบน้ำเย็นในรูปของ ลิตรต่อวินาที (L/s) หรือแกลลอนต่อวินาที (GPM)
– วัดค่าอุณหภูมิน้ำเย็นเข้าและออกเครื่องทำน้ำเย็นในหน่วยองศาเซลเซียส
เครื่องมือที่ใช้ตรวจในระบบปรับอากาศ (Online Measuring Instruments in Chiller) |
– มีความแม่นยำในการตรวจวัดสูง ด้วยการตรวจวัดแบบ Bi-directional
METSEPM2230 แบรนด์ Schneider Electric
– เครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าตระกูล EasyLogic
– ค่าไฟฟ้าที่มิเตอร์ PM2230 สามารถวัดได้
– Calculated neutral current
– Active power P, P1, P2, P3
– Current I, I1, I2, I3
– Peak demand power PM, QM, SM
– Voltage U, U21, U32, U13, V, V1, V2, V3
– Peak demand currents
– Reactive power Q, Q1, Q2, Q3
– Demand power P, Q, S
– Unbalance current
– Active, reactive, apparent energy (signed, four quadrant)
– Apparent power S, S1, S2, S3
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ : คุณปทิตตา โทร. 092-258-1144 หรือ Line ID: @entech