เครื่องไตเตรทอัตโนมัติ (Automatic Titration) สำหรับงานด้านเภสัชตำรับ (Pharmacopoeia)
เครื่องไตเตรทอัตโนมัติ (Automatic Titration) สำหรับงานด้านเภสัชตำรับ (Pharmacopoeia)
เภสัชตํารับ (Pharmacopoeia) เป็นหนังสือที่ระบุถึงสารที่ใช้ในการบําบัดรักษาโรค (medical substances), ข้อกําหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับคุณภาพยา (quality specifications), ลักษณะทั่วไปของยา (descriptions), วิธีการทดสอบ (method of testing) และเกณฑ์ตัดสินหรือมาตรฐานของความบริสุทธิ์ของยา (legal standards of purity) ตลอดจนคุณภาพและความแรง (quality and strength) นอกจากนั้นยังประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับตัวยา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทดสอบหรือสูตรตํารับของตัวยานั้นๆที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันที่เป็นที่รับรองของประเทศนั้นถือเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของแต่ละประเทศ
การตรวจวิเคราะห์ (Assay) เป็นหนึ่งในข้อกําหนดที่สําคัญของตํารายา วิธีที่ดีต้องมีความเฉพาะเจาะจงสําหรับตัวยาเพียงอย่างเดียว มีความแน่นอน เที่ยงตรงและแม่นยํา ซึ่งวิธีการวิเคราะห์มีมากมาย อีกทั้งมีการปรับปรุงให้ได้วิธีใหมๆ ที่ให้ผลรวดเร็ว แม่นยําอยู่เสมอ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่
1) การวิเคราะห์โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical methods)
2) การวิเคราะห์โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ (Physiochemical method)
3) การวิเคราะห์โดยใช้สัตว์ทดลองหรือใช้จุลชีพ (Biological method)
วิธีการวิเคราะห์ปฏิกิริยาทางเคมีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การไตเตรท (Titration) หลักสำคัญที่สุด คือ ผู้วิเคราะห์ต้องสามารถมองเห็นจุดยุติ (end point) อย่างชัดเจนถึงจะให้ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำ ทำให้การไตเตรทแบบธรรมดาจึงมีข้อด้อยในหลายๆด้าน เช่น ความผิดพลาดจากการสังเกตจุดยุติในการไตเตรท ที่เกิดในการวิเคราะห์หาปริมาณแอสคอบิกในตัวยา ซึ่งตัวอย่างยาบางชนิดต้องมีการเคลือบด้วยพอลิเมอร์บางตัวและมีการผสมสี ดังนั้นตัวอย่างที่ผ่านการบดแล้วนำไปละลายด้วยตัวทำละลาย จะมีสีเมื่อนำไปไตเตรทด้วยไอโอดีน สีที่เปลี่ยนไปในขณะการไตเตรทอาจจะไม่ชัดเจน ทำให้จุดยุติเห็นได้ไม่ชัดเจน ผลการวิเคราะห์จึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ เป็นต้น
ด้วยขีดจำกัดที่เกิดขึ้นในการใช้วิธีไตเตรทแบบธรรมดา ทำให้เกิดการพัฒนา เครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติ (Autotitrator) เพื่อตอบโจทย์และเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ปฏิกิริยาต่างๆตามเภสัชตำรับได้ เช่น
การไตเตรทสารละลายมาตรฐาน กรดและเบส : การวิเคราะห์ปริมาณยา Aspirin ในรูปแบบยาเม็ด, การวิเคราะห์ปริมาณ Povidone Iodine Topical Solution
การไตเตรทโดยอาศัยหลักการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน : การวิเคราะห์ปริมาณ aluminum hydroxide ในยาน้ำ alumina and magnesia oral suspension
การไตเตรทโดยอาศัยปฏิกิริยาการตกตะกอน : การวิเคราะห์ปริมาณยา sodium chloride solution
เครื่องไตเตรทแบบอัตโนมัติผลิตภัณฑ์จากประเทศเยอรมนี แบรนด์ SI Analytics มีด้วยกันหลายรุ่นประกอบด้วย TITRONIC300, TITRONIC500, TitroLine5000, TitroLine7000, TitroLine7500KF, TitroLine7750 และ TitroLine7800 รวมไปถึง Sample changer TW 7400 สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมยาที่ต้องการก้าวสู่มาตรฐาน Thailand 4.0 เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการศึกษาและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
TITRONIC300
TITRONIC500
TitroLine5000
TitroLine7000
TitroLine7500KF
TitroLine7750
TitroLine7800
Sample changer TW 7400
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน : คุณพรรณธิภา โทร. 063-902-9892
หน่วยงานราชการ : คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech
ข้อมูลอ้างอิง
1) อัจฉราอุทิศวรรณกุล (2533) รูปแบบเภสัชภัณฑ์ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
2) สุธี เวคะวากยานนท์และวัชรีคุณกิตติ (2541) เทคนิคการตั้งตํารับยาเตรียม ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3) ตำราเรียน การควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพเภสัชภัณฑ์ คณะคณะเภสัชศาสตร์ กลุ่มวิชาเภสัชเคมีและเทคโนโลยีเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี