การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ด้วยเครื่องวัดแสง (Lux Meter) ตามมาตรฐาน
การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ด้วยเครื่องวัดแสง (Lux Meter) ตามมาตรฐาน
การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง
|
แสง เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนทั่วไป ซึ่งหากแสงสว่างน้อยเกินไป จะมีผลเสียทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เนื่องจากการมองเห็นไม่ชัดเจน ทำให้ต้องเพ่ง ต้องใช้เวลาในการมองรายละเอียดนานขึ้น เกิดความเมื่อยล้าของนัยน์ตา เป็นสาเหตุของอาการปวดตา มึนศีรษะ การที่จะไปหยิบหรือจับวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ อาจจะผิดพลาดจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือถ้าหากแสงสว่างมากเกินไป จะทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดความไม่สบาย เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะแสงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาด้วยทั้งนั้น
การกำหนดความเหมาะสมของความเข้มแสงจึงเป็นส่วนสำคัญในป้องกันความเสี่ยงทางด้านสุขภาพกับผู้ปฏิบัติงาน โดยจะกำหนดความเข้มของแสงสว่างตามพื้นที่หรือลักษณะงาน หากเป็นงานที่ต้องการความละเอียด จำเป็นที่จะต้องใช้แสงสว่างที่มากขึ้น ซึ่งสามารถตรวจสอบมาตรฐานค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปได้ในกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 หรืออ้างอิงได้จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง
การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องตรวจวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการใช้เครื่องวัดแสง (Lux Meter) ที่ได้มาตรฐาน CIE 1931 หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS การวัดความเข้มแสงสว่างจะวัดในหน่วย ลักซ์ (lux) ซึ่งต้องหาค่าความเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง โดยวัดทุก ๆ 2 x 2 ตารางเมตร
เครื่องวัดแสง (Lux Meter) รุ่น Mavospec Base ผลิตภัณฑ์ Gossen ประเทศเยอรมนี
– สามารถใช้งานกับหลอดไฟ Daylight LED Halogen และอื่นๆ
– ช่วงการวัดความเข้มของแสงสว่าง 10 lx – 100,000 lx สามารถเลือกแสดงผลหน่วยการวัดเป็น fc ได้
– มีค่าความไม่แน่นอนของการวัดความเข้มของแสงสว่าง ± 3 %
– สามารถวัดอุณหภูมิสี (color temperature) ได้ตั้งแต่ 1,600 K – 50,000 K
– วัดค่าดัชนีความถูกต้องของสี (Color rendering index; CRI) ได้
– สามารถวัดสีในไดอะแกรมด้วยระบบพิกัด ตามาตรฐาน CIE 1931 ได้
– ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ชนิด Li-Ion แบบประจุไฟใหม่ได้ สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง
– เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดเป็นแบบ CMOS ความละเอียด 256 pixels
– หน้าจอแสดงผลแบบสี ชนิด TFT ขนาด 2.1 นิ้ว ความละเอียด 320 x 240 pixels
– รองรับการบันทึกข้อมูลลงใน SD Card 4 GB สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 500,000 ค่า
– มีช่องเชื่อมต่อแบบ USB 2.0
เครื่องวัดแสง (Lux Meter) รุ่น FT3424 ผลิตภัณฑ์ Hioki ประเทศญี่ปุ่น
– ได้มาตรฐาน DIN 5032-7: 1985 class B, JIS C 1609-1: 2006
– ตัวรับสัญญาณแสงเป็นแบบ Silicon photo diode
– ช่วงการวัดความเข้มของแสงสว่าง 0 – 200,000 lx
– ค่า Linearity ±2% ของค่าที่อ่านได้
– ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่อัลคาไลน์ LR6 2 ก้อน ใช้งานได้ต่อเนื่อง 300 ชั่วโมง
– มีฟังก์ชั่นสำหรับบันทึกข้อมูลได้สูงสุด 99 ข้อมูล
– หน้าจอแบบ LCD มีไฟส่องสว่างพื้นหลัง
– มีฟังก์ชั่น Timer เพื่อตั้งค่าหน่วงเวลาในการวัดเพื่อให้ผู้วัดถอยห่างออกมาจากระยะการวัด
– สามารถเชื่อมต่อและโอนถ่ายข้อมูลมายังคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB 2.0
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ | ||
หน่วยงานเอกชน | คุณพณิชรัตน์ | โทร. 092-282-3339 |
หน่วยงานราชการ | คุณนันท์นภัส | โทร. 092-282-3223 |
ลูกค้าภาคตะวันออก | คุณลัดดาวัลย์ | โทร. 092-248-9991 |
Line ID : @entech |