ลดต้นทุนพลังงานด้วยเครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด

ลดต้นทุนพลังงานด้วยเครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด

ลดต้นทุนพลังงานด้วยเครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด
 Reduce energy costs with a compressed air flow meter

ลองนึกถึงสถานการณ์ต่อไปนี้ : ถ้าคุณพบว่าค่าน้ำที่บ้านสูงขึ้นผิดปกติ หลังจากไล่หาจุดรั่วและถ้าพบว่ามีน้ำรั่วบริเวณหลังบ้าน คุณจะทำยังไงต่อ? แน่นอนคุณก็ต้องซ่อมจุดที่รั่ว แต่หากเหตุการณ์นั้นเกิดในโรงงานของคุณ และแทนที่จะเป็นน้ำ กลับเป็นอากาศอัดล่ะ? คุณอาจจะไม่ทำอะไรเลย เพราะมองว่าอากาศอัด “ฟรี” และเพราะมองไม่เห็นเลยไม่กวนใจ เหตุการณ์นี้ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์สมมติอย่างที่เราคิด โรงงานส่วนมากใช้อากาศอัดในกระบวนการผลิต และมีการรั่วเกิดขึ้น แต่โรงงานกลับให้ความสนใจถึงการใช้อากาศอัดน้อยมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าหรือก๊าซ

เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะให้ความสนใจระบบอากาศอัด เพราะตรงกันข้ามกับที่คนทั่วไปคิด อากาศอัดไม่ได้ฟรี โดยเฉลี่ยในโรงงานทั่วไป อากาศอัดจะเป็นต้นทุนถึง 10 ถึง 30% ของค่าไฟ! จึงเป็นเงินจำนวนมากที่ไม่ควรเสียไปจากการรั่วหรือกระบวนการผลิตที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ทางง่ายๆ ที่จะตรวจสอบการรั่วของระบบอากาศอัดได้ ทางออกก็คือ เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด (Compressed Air Flow Meter) แต่เครื่องทำงานยังไง และโรงงานจะได้อะไร อยู่ในบทความต่อไปนี้

เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัดคืออะไร?
เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัดคืออะไร? ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องวัดทางไฟฟ้าหรือเครื่องวัดอัตราการใช้ก๊าซ เครื่องจะแสดงการใช้พลังงานในรูปของอากาศอัด การติดตั้งจะติดบริเวณที่เหมาะสม เช่น ตรงท่อหลักจุดที่อากาศอัดเข้าสู่โรงงาน หรือ เจาะจงไปที่แต่ละแผนก เพื่อตรวจวัดปริมาณอากาศอัดที่เข้าไปในแต่ละแผนก เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด ของ VPInstruments สามารถวัดค่าอัตราการไหล แรงดัน อุณหภูมิ และปริมาตรรวมได้ เราจึงมองภาพได้ง่ายขึ้น เครื่องจะมีหน้าจอแสดงผล และสามารถบันทึกข้อมูลได้ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และทำการปรับปรุงได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญญานเพื่อแสดงข้อมูลได้ทันทีในระบบของโรงงานหรือในบริเวณที่ต้องการ

สามารถวัดได้ถึง 4 ค่าในราคาเครื่องเดียว
เครื่องวัดอัตราการไหลของ VPInstruments รุ่น VPFlowScope
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นแบบ 4-in-1 สามารถวัดอัตราการไหลได้แบบ 2 ทิศทาง วัดอุณหภูมิ(Temperature) แรงดัน(pressure) และปริมาตรรวม(Totalizer) ทำให้เราได้ภาพที่ครบถ้วนเพื่อที่จะเข้าใจว่าระบบเป็นอย่างไร เช่น แรงดันลดลงอาจเกิดจากความต้องการใช้ลมมากกว่าที่คอมเพรสเซอร์ผลิตได้ การเพิ่มของอุณหภูมิบอกได้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นในระบบ compressed air drier ซึ่งอาจเพราะว่าอากาศร้อน หรือเครื่องทำงานผิดปกติ

ข้อมูลค่าแรงดันก็สำคัญเช่นเดียวกัน ระบบควรมีแรงดันสม่ำเสมอสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต หรือรักษาระดับของแรงดันให้คงที่  โดยทั่วไประบบจะจ่ายแรงดันสูงกว่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อเลี่ยงความแปรปรวนของแรงดัน ซึ่งจะส่งผลให้แรงดันของระบบทั้งโรงงานตก แต่มีกฎอยู่ว่า แรงดัน 1 บาร์ที่ลดลงได้จะประหยัดพลังงานถึง 7%! แต่ก่อนที่จะสามารถปรับกระบวนการผลิตให้เหมาะสม เราจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เพื่อที่จะปรับปรุงระบบได้ จึงควรต้องมีการติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัดที่วัดได้ถึง 4 ค่าในเครื่องเดียว

ต้องทำความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตของคุณ
ไม่มีกระบวนการใดที่เหมือนกัน ความยาวท่อและเส้นทางจากคอมเพรสเซอร์ถึงกระบวนการผลิตจะแตกต่างกันไป

ในโรงงานส่วนมากระบบจะมีลักษณะดังนี้:
1. เริ่มจากห้องคอมเพรสเซอร์ ที่นี่ถือเป็น “Energy plant” ของโรงงาน ปกติมักจะเป็นห้องที่ไม่ค่อยให้คนเข้าและมีเสียงดัง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเข้าไปที่นี่ เราจะสามารถเจอโอกาสในการประหยัดพลังงานได้หลายทาง
2. ในห้องคอมเพรสเซอร์ คุณอาจเจอคอมเพรสเซอร์ 1 หรือหลายเครื่อง ต้องดูระยะเวลา running hours และระยะเวลา offload hours และดู nameplate จดตัวเลขและคำนวนค่าใช้จ่ายจากตัวเลขเหล่านี้ได้เบื้องต้น
3. หลังจากคอมเพรสเซอร์ คุณจะเจอฟิลเตอร์ และ drier โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะนำน้ำออกจากอากาศอัด เพื่อให้อากาศอัดแห้ง เนื่องจากน้ำอาจทำอันตรายท่อและเครื่องจักรได้ สามารถสังเกตได้โดยดูที่พื้นว่ามีน้ำอยู่หรือไม่ ถ้าในกรณีที่ drier มีปัญหาจำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยทันที
4. หลังจาก drier คุณอาจเจอฟิลเตอร์อื่นๆ อีก เช่น ฟิลเตอร์กรองฝุ่น หรือฟิลเตอร์ชนิดคาร์บอน ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงาน ซึ่งความสะอาดและความแห้งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
5. หลังจากฟิลเตอร์ คุณอาจจะเจอ “header” ซึ่งทำหน้าที่จ่ายอากาศอัดให้กับแผนกต่างๆ ของโรงงาน ตรงบริเวณ header นี้เป็นจุดที่เหมาะสมที่จะติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลเพื่อคำนวนต้นทุนของแต่ละแผนกและตรวจสอบการรั่วของระบบ
6. จากท่อลมที่มีจำนวนมากมาย อากาศอัดจะถูกนำไปจ่ายให้เครื่องจักรที่ต้องการใช้ ซึ่งถ้ามองไปที่ท่อเหล่านี้ บางครั้งเราอาจจะพบว่า หลายท่ออาจจะไม่เคยอยู่ในแบบแปลนเดิมของโรงงาน ซึ่งอาจจะมีท่อที่พาอากาศอัดไปสู่จุดที่มีการใช้มาก ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงดันกับทั้งโรงงานได้

เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด: ข้อมูลจากภายใน (information from the inside)
จากขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการผลิตที่อธิบายเบื้องต้น จะเห็นว่าบางระบบอาจจะเกิดความผิดปกติได้ อาจจะไม่ใช่การรั่วอย่างมาก (ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้) แต่อาจจะเป็นสาเหตุเล็กน้อย เช่นการรั่วของระบบ  compressed air drains หรือการใช้อากาศอัดปริมาณสูงมากเกินไป ถ้าโรงงานทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ สาเหตุเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการเสียอากาศอัดจำนวนมากได้ ซึ่งก็เป็นเงินจำนวนมากที่เรากำลังโยนทิ้งไป! มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเจอจุดรั่วของท่อโดยเพียงแค่มองดูหรือตรวจสอบประจำวัน เพราะเราย่อมไม่สามารถมองแบบ x-ray ได้ อีกทั้งเรายังไม่มีเวลาที่จะเดินตรวจสอบตลอดทั้งวัน ดังนั้น เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด จึงเป็นสิ่งที่สามารถบอกทุกสิ่งที่เราต้องการรู้

ด้วยการติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลจำนวน 1 เครื่อง หรือหลายเครื่องในจุดที่สำคัญ จะทำให้เราได้ข้อมูลที่สำคัญมากที่จะช่วยให้สามารถจัดลำดับความสำคัญและช่วยยืนยันการตัดสินใจของเราด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น เรามีการใช้พลังงานจำนวนเท่าไหร่ในวันทำการและวันเสาร์อาทิตย์ บางโรงงานจะค้นพบและแปลกใจว่ามีการใช้อากาศอัดในวันอาทิตย์ ถึงแม้วันนั้นเครื่องจักรจะไม่ได้เปิดทำงาน เรายังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละอาทิตย์โดยใช้ซอฟท์แวร์ ซึ่งจะช่วยให้เราค้นพบว่ามีการรั่วเกิดขึ้นมากกว่าระดับปกติ และสามารถดำเนินการแก้ไขได้รวดเร็ว ลองนึกภาพว่าจะมีจุดรั่วกี่จุดที่เราจะสามารถค้นพบและแก้ไขได้โดยใช้เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัด!

เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศอัดสำหรับทุกสถานการณ์
กระบวนการผลิตของเราอาจจะมีขั้นตอนที่มากมาย ซึ่งทำให้อาจต้องใช้เครื่องวัดอัตราการไหลหลากหลายแบบ แต่ VPInstruments สามารถใช้ได้กับทุกส่วนของระบบอากาศอัด จากด้าน supply side จนถึงด้าน demand side เครื่องวัดอัตราการไหลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม “product family” เดียวกัน ดังนั้นการใช้งานเครื่องจึงเหมือนๆ กันไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน รุ่น VPFlowScope DP ถูกออกแบบพิเศษสำหรับการวัดในอากาศอัดที่เปียกและสกปรก แต่ถ้าอากาศอัดสะอาดแนะนำให้ใช้รุ่น VPFlowScope M ซึ่งเหมาะกับการวัดอากาศอัดที่แห้ง และยังมีรุ่น In-line flow meters ที่เหมาะสำหรับท่อขนาดเล็กไม่เกิน 2 นิ้ว

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ : คุณปทิตตา  โทร. 088-9249644,  092-258-1144  หรือ Line ID : @entech

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save