เครื่องวัดก๊าซยาสลบ และก๊าซพิษในงานบริการด้านการแพทย์
เครื่องวัดก๊าซยาสลบ และก๊าซพิษในงานบริการด้านการแพทย์
ก๊าซยาสลบในงานด้านการแพทย์ |
ยาสลบ คือ ยาที่วิสัญญีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญใช้เพื่อให้ผู้ป่วยหลับ ไปจนถึงหมดสติ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาในขั้นตอนถัดไป เช่น การผ่าตัด หรือหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรค ที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความกังวล ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ที่บางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถอยู่นิ่งเพียงพอเพื่อให้การผ่าตัดสำเร็จได้ ยาสลบจึงถูกนำมาใช้เพื่อระงับความรู้สึกและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดหรือสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดหรือหัตถการนั้นๆ โดยยาสลบมีทั้งรูปแบบยาฉีด นิยมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และแบบก๊าซ โดยให้ผู้ป่วยสูดดมผ่านทางหน้ากากหรือท่อช่วยหายใจ ซึ่งก๊าซยาสลบที่นิยมใช้ ได้แก่ Nitrous Oxide และสารประกอบฮาโลเจนในรูปของไอ เช่น Sevoflurane, Enflurane, Isoflurane, Halothane, Desflurane และ Methoxyflurane เป็นต้น
ก๊าซพิษในงานบริการด้านการแพทย์ |
นอกจากก๊าซยาสลบแล้ว ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ยังต้องสัมผัสกับก๊าซพิษอีกหลายชนิด เช่น
เอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide : O2H4O) เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะตัว ติดไฟได้ สารตัวนี้จะไม่เสถียรเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ใช้อบฆ่าเชื้อโรคบนอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ทนต่อความร้อน เช่น สายยาง เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ไอ ปอดบวม ถุงลมโป่งพองได้
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide : CO2) เป็นแก๊สที่ไม่ติดไฟ ไม่ทำปฏิกิริยา ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งหากหายใจเอาแก๊สนี้เข้าไปในปริมาณมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวบ่อย กดสมอง มึนงง ง่วงซึม เครียด ความดันโลหิตและอัตราการหายใจอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์จะนำไปใช้ในการผ่าตัดที่มีการเปิดแผลขนาดเล็ก โดยใช้อัดขยายช่องท้องหรือช่องอกให้มีช่องว่างมากพอที่จะสอดเครื่องมือสำหรับผ่าตัดเข้าไป และหลังการผ่าตัดก็จะใช้ก๊าซผสมระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนเพื่อช่วยกระตุ้นการหายใจให้ผู้ป่วย
นอกจากก๊าซยาสลบ ยังมีก๊าซพิษอีกหลายชนิดที่ตกค้างอยู่ในสภาวะการทำงานทางด้านการแพทย์ นับเป็นมลภาวะที่ตกค้างในบรรยากาศ (Waste Anesthetic Gases) ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน จึงต้องมีการตรวจวัดเพื่อหาปริมาณของก๊าซพิษเหล่านั้น
ทางเอ็นเทคฯ ขอแนะนำ เครื่องวัดการรั่วไหลของก๊าซยาสลบ และก๊าซพิษในโรงพยาบาล รุ่น GT5000 Terra แบรนด์ Gasmet ที่มาพร้อมกับ Hospital application for Anesthetic Waste Gas Monitoring
• ตรวจวัดก๊าซโดยใช้หลักการ FTIR (Fourier transform infrared spectroscopy) ตรวจวัดก๊าซได้ทั้งหมดในช่วงความยาวคลื่น 900-4200 cm-1
• วิเคราะห์และอ่านค่าความเข้มข้นได้พร้อมกันสูงสุด 50 ชนิดก๊าซ โดยความถี่ในการวิเคราะห์ก๊าซ 10 ครั้ง/วินาที และตั้งค่าระยะเวลาในการวิเคราะห์ได้
• ค้นหา Unknown Gas ได้ สามารถค้นหาก๊าซที่ไม่มีอยู่ในรายการที่ทำการตรวจวัด โดยค้นหาจากฐานข้อมูลก๊าซ 250 ชนิดก๊าซ หรือฐานข้อมูล NIST 5,000 ชนิดก๊าซ (Optional)
• มีการชดเชยค่าการวัดที่เกิดจากการรบกวนของก๊าซอื่น (Cross interference)
• ง่ายต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา ไม่ต้องเตรียมตัวอย่างและทำการสอบเทียบก่อนนำไปตรวจวัด เพียงแค่ทำ zero ด้วยก๊าซ N2 ก่อนการตรวจวัด และไม่ต้องเปลี่ยนเซนเซอร์ทุกๆ ปี
ตัวอย่าง Anesthetic Waste Gas |
Carbon dioxide (CO2)
Carbon monoxide (CO)
Nitrous oxide (N2O)
Sevoflurane (CF3CH(CF3)OCH2F)
Desflurane (CF3CHFOCHF2)
Isoflurane (CF3CHClOCHF2)
Ethylene oxide (C2H4O)
Formaldehyde (HCOH)
Methylmethacrylate (C5H8O2)
>> ดูชนิดก๊าซเพิ่มเติม
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
โรงพยาบาลเอกชน : คุณพรรณธิภา โทร. 063-902-9892
โรงพยาบาลรัฐบาล : คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย : คุณสาธิดา โทร. 092-282-3335
โรงพยาบาลในภาคตะวันออก : คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech