การตรวจสอบหาจุดรั่วไหลในระบบอัดอากาศ ด้วยเครื่องตรวจวัดการรั่วไหลของอากาศอัดแบบอัลตร้าโซนิก

การตรวจสอบหาจุดรั่วไหลในระบบอัดอากาศ ด้วยเครื่องตรวจวัดการรั่วไหลของอากาศอัดแบบอัลตร้าโซนิก

การตรวจสอบหาจุดรั่วไหลในระบบอัดอากาศ (compressed air) ด้วย
เครื่องตรวจวัดการรั่วไหลของอากาศอัด (Leak Detector) แบบอัลตร้าโซนิก 

อุปกรณ์การตรวจจับการรั่วไหล โดยทั่วไปจะเรียกกันว่า Leak Detector หรือ Leak Detection ซึ่งมีหลากหลายประเภทด้วยกัน บางตัวจะใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจวัด หรือใช้สัญญาณอัลตร้าโซนิคในการตรวจหาจุดรั่ว แม้รอยรั่วจะมีขนาดเล็กจนมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ทั้งเสียงและการมองเห็นก็สามารถตรวจสอบการรั่วไหลได้จากระยะหลายเมตร เพราะเครื่องจะเปลี่ยนคลื่นเสียงที่ไม่ได้ยินให้กลายเป็นความถี่เสียง

โดยตัวเครื่องมือการตรวจสอบการรั่วไหลระบบอากาศอัดนี้ จะใช้ตัวตรวจจับสัญญาณที่มีความแม่นยำสูงและรองรับการตรวจสอบได้หลายชนิด เช่น อากาศอัด ก๊าซ ไอน้ำ ระบบสุญญากาศ steam trap หรือการซีลรอยต่อ การตรวจสอบจะแม่นยำขึ้นได้ด้วยเลเซอร์ชี้จุดการวัดที่มีอยู่ในตัวเครื่องและดูค่าการวัดหรือควบคุมได้จากหน้าจอระบบสัมผัส ยังสามารถนำข้อมูลมาสร้างเป็นรายงานตามมาตรฐาน ISO 50001 ได้ผ่านโปรแกรม โดยใช้สาย USB เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียอากาศที่รั่วไหล
จากข้อมูลของ กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา รอยรั่วของอากาศอัดขนาด 1/8 นิ้ว (3 มม.) จุดเดียวอาจมีความเสียหายสูงถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาประเมินไว้ว่าโรงงานสหรัฐอเมริกาทั่วไปที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี อาจมีการสูญเสียอากาศอัดถึง 20% ของกำลังการผลิตอากาศอัดทั้งหมดจากการรั่ว รัฐบาลนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Target Sustainability ประเมินไว้ว่าการรั่วของระบบอาจคิดเป็นมูลค่า 30 ถึง 50% จากกำลังการผลิตของระบบอากาศอัด การตรวจหารอยรั่วของอากาศอัด ก๊าซ และสุญญากาศอย่างเร็วที่สุดเป็นปัจจัยเดียวในการค้นหากำไรที่ซ่อนอยู่ การรั่วของอากาศยังอาจนำไปสู่รายจ่ายในการลงทุน การแก้ไขงานใหม่ การหยุดชะงัก หรือปัญหาด้านคุณภาพและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้นได้ในภายหลัง

โดยทั่วไปคอมเพลสเซอร์แอร์ที่ทำงานเต็มพิกัดที่ 100 psi จะใช้กำลังไฟประมาณ 17 – 20 kW ต่อ 100 cfm หรือที่ 10 cent ต่อ kWh หมายถึง ค่าใช้จ่ายของการใช้อากาศอัดที่กำลังทำงานอยู่ จะประมาณ $1.70 – $2.20 ต่อชั่วโมงสำหรับทุกๆ 100 cfm ณ อัตราการไหลคงที่ ถ้าสมมติว่าคอมเพลสเซอร์ไม่เคยปิดเครื่องเลย เดินเครื่อง 8,760 ชม.ต่อปี ณ อัตราการไหล 100 cfm ซึ่งเทียบเท่าคอมเพลสเซอร์ขนาด 25 แรงม้า จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ $14,900 – $19,300 ต่อปี สำหรับการใช้งาน และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการบำรุงรักษาระบบอัดอากาศอีกด้วย

การรั่วไหลของอากาศอัดเกิดขึ้นได้อย่างไร
เช่นเดียวกันกับการสิ้นเปลืองพลังงานในการขับเคลื่อนระบบไฟฟ้า เป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของอากาศในระบบอัดอากาศ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมีที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าอัตราการรั่วไหลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทางเศรษฐกิจ โดยการจัดการระบบอัดอากาศอย่างเหมาะสมและตรวจสอบการรั่วไหลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดสาเหตุของการเกิดรอยรั่วไหล ได้แก่
• ข้อผิดพลาดในการติดตั้งระบบ เช่น การขันสกรูและซีลไม่เพียงพอหรือแน่นเกินไป หรือความเสียหายทางกล เช่น ผลจากการขัดท่อ
• การจัดการส่วนประกอบของอากาศอัดโดยทั่วไปไม่ถูกต้อง เช่น ผลจากการตัดท่อที่ไม่ถูกต้อง
• การติดตั้งส่วนประกอบของระบบอากาศอัด
• ความเค้นทางเคมีเนื่องจากสภาพการทำงานของส่วนประกอบและเกิดจากวัสดุที่เลือกไม่ถูกต้อง

จุดไหนบ้างที่สามารถประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ?

การตรวจสอบการรั่วไหลในระบบอากาศอัดเป็นปัจจัยพื้นฐานในการหาวิธีประหยัดพลังงาน การวิเคราะห์แบบบูรณาการจะต้องพิจารณาทั้ง 4 ส่วนของระบบอัดอากาศ ได้แก่

• การสร้างอากาศอัด
• การเตรียมอากาศ
• การขนส่งอากาศอัด
• การนำอากาศอัดไปใช้งาน

บริษัท เอ็นเทคฯ ขอแนะนำเครื่องวัดการรั่วไหลในระบบอัดอากาศ (Compressed air)

รุ่น LD500 ผลิตภัณฑ์ CS Instruments ประเทศเยอรมนี

• ช่วงความถี่ที่ใช้งาน 40 kHz ± 2 kHz
• ระยะเวลาการใช้งานต่อเนื่อง 9 ชั่วโมง และใช้ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 4 ชั่วโมง
• ใช้งานง่ายด้วยหน้าจอแบบสัมผัสขนาด 3.5 นิ้ว
• สามารถแสดงผลและบันทึกข้อมูลเป็นรูปภาพ
• สามารถโอนถ่ายข้อมูลการรั่วไหลไปยังคอมพิวเตอร์ผ่าน USB
• สามารถสร้างรายงานตาม ISO 50001 ได้ด้วยซอฟท์แวร์
• ผ่านการรับรองข้อกำหนด EMC DIN EN 61326
• มีความไวในการตอบสนองต่ำสุด 0.1 l/min ที่ 6 bar ระยะห่าง 5 เมตร

บริษัท เอ็นเทค อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ CS Instruments จากประเทศเยอรมนี รวมถึงการบริการหลังการขายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย CS Instruments Thailand

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
หน่วยงานภาคตะวันออก คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save