เครื่องมือและอุปกรณ์เก็บตัวอย่างมลพิษทางอากาศ

เครื่องมือและอุปกรณ์เก็บตัวอย่างมลพิษทางอากาศ

เครื่องมือและอุปกรณ์เก็บตัวอย่างมลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับมลพิษจากก๊าซและไอระเหย

โดยปกติ  หากเราพูดถึงมลพิษทางอากาศ เรามักจะนึกถึงมลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองเป็นลำดับแรก เนื่องจากมลพิษประเภทนี้สามารถมองเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน หรือตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักมลพิษทางอากาศอีกประเภทหนึ่ง นั่นก็คือ มลพิษจากก๊าซและไอระเหย ซึ่งมลพิษประเภทนี้อาจเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) หรือเกิดจากกระบวนการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม การแปรรูปอาหาร การกลั่นน้ำมัน การหลอมโลหะ โรงงานผลิตสารอนินทรีย์ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) กรดซัลฟูริก กํามะถัน ตะกั่ว ไอของกรด ซึ่งอาจจะไม่ได้พบเห็นโดยทั่วไป มลพิษเหล่านี้ส่งผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพหลายอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม ยกตัวอย่างเช่น การลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจ การระคายเคืองอวัยวะต่างๆ เป็นต้น

จากผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปไว้ใน ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป และมีการกำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปไว้ใน ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี

ดังนั้น เพื่อที่จะทราบระดับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศว่าอันตรายต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ หรือมีค่าเกินตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เราสามารถทำได้โดยการเก็บตัวอย่างมลพิษทางอากาศไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยใช้อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง เช่น ถุงเก็บตัวอย่างอากาศ (Sampling bag) ปั๊มเก็บตัวอย่างอากาศ (Personal Pump) หลอดเก็บสารตัวอย่าง (Sorbent tube) หรือใช้เครื่องมือวัดแบบอ่านค่าได้ทันที โดยการเก็บตัวอย่างอากาศต้องพิจารณาถึงประเภทของมลพิษทางอากาศ ชนิดของสารปนเปื้อนที่แขวนลอยในอากาศ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ การเก็บตัวอย่างอากาศสำหรับสารปนเปื้อนที่เป็นไอระเหยและก๊าซ และการเก็บตัวอย่างอากาศสำหรับสารปนเปื้อนที่เป็นอนุภาค ซึ่งในบทความฉบับนี้จะขอพูดถึงเพียงแค่การเก็บตัวอย่างอากาศที่เป็นไอระเหยและก๊าซเท่านั้น

  การเก็บสารปนเปื้อนที่เป็นไอระเหยและก๊าซ สามารถใช้อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างได้หลากหลาย ดังนี้

Impingers

หลอดบรรจุของเหลว (Impingers) ใช้ในการจับมลพิษในอากาศให้สะสมอยู่ในของเหลวในหลอดแก้ว

Sorbent-tube

หลอดเก็บสารตัวอย่างหรือหลอดบรรจุสารดูดซับ (Sorbent tube) เป็นหลอดแก้วขนาดเล็ก ภายในมีสารดูดซับ(Adsorbents) ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับไอระเหยหรือก๊าซที่ต้องการเก็บตัวอย่าง

Sampling-bag

ถุงเก็บตัวอย่างอากาศ (Sampling bag) มีให้เลือกหลายวัสดุ เช่น Tedlar Bags ที่ทำมาจากพลาสติก หรือ Flexfoil Bags ขึ้นอยู่กับไอระเหยหรือก๊าซที่ต้องการเก็บตัวอย่างเช่นกัน อีกทั้งยังมีหลายขนาดให้เลือกใช้

Personal-Sampling-Pump

โดยอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ตัวกลางสำหรับดูดอากาศเข้ามา นั่นคือ ปั๊มดูดอากาศ (Personal Sampling Pump) ซึ่งก็มีให้เลือกหลากหลายแบบเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะใช้สำหรับอัตราการไหลต่ำ 5 ml/min ไปจนถึงอัตราการไหลสูง 30 L/min

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เครื่องมือวัดที่อ่านค่าได้ทันที ซึ่งเครื่องมือตัวนี้สามารถวัดก๊าซในบรรยากาศ ปริมาณฝุ่นละอองและวัดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวกับงานอุตุนิยมวิทยาได้อีกด้วย เช่น ค่าอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น ขอแนะนำเครื่องวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ผลิตภัณฑ์ SKC รุ่น HAZ-SCANNER EPAS จากประเทศสหรัฐอเมริกา

HAZ-SCANNER-EPAS

เครื่องวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ SKC รุ่น HAZ-SCANNER EPAS จากประเทศสหรัฐอเมริกา
• เป็นเครื่องมือแบบเคลื่อนย้ายได้ที่สามารถอ่านค่าการวัดได้โดยตรง
• สามารถวัดความเข้มข้นก๊าซ ปริมาณฝุ่นละออง และพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยา โดยวัดได้พร้อมกันสูงสุด 14 พารามิเตอร์ ได้แก่ เซ็นเซอร์สำหรับวัดปริมาณฝุ่น 2 เซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์สำหรับวัดความเข้มข้นก๊าซ 8 เซ็นเซอร์ และเซ็นเซอร์สำหรับวัดพารามิเตอร์ทางด้านอุตุนิยมวิทยา 4 เซ็นเซอร์
• สามารถใช้งานจากแบตเตอรี่ หรือไฟ AC หรือใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้
• สามารถโอนถ่ายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านซอฟท์แวร์ และรายงานผลเป็นกราฟได้

สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
หน่วยงานภาคตะวันออก คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech

[seed_social]

Chat with us on LINE

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save