การวัดออกซิเจนละลายในน้ำด้วย DO Meter
ออกซิเจนละลายในน้ำ (dissolved oxygen, DO) คือ ปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ ปริมาณการละลายออกซิเจนในน้ำสามารถบอกถึงคุณภาพของน้ำ น้ำที่มีความสกปรกมากๆ มักมีค่าออกซิเจนละลายต่ำ น้ำที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตต้องมีค่าออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
• อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิในน้ำเพิ่มขึ้นออกซิเจนจะละลายได้น้อยลง
• ความดันของอากาศ ออกซิเจนละลายจะลดลงเมื่อความดันอากาศเพิ่มขึ้น
• ความเค็ม เมื่อมีความเค็มสูงขึ้นจะส่งผลทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำลดลง
การวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
• วิธีเอไซด์โมดิฟิเคชันของไอโอโดเมตริก (azide modification of iodometric method)
• วิธีเมมเบรนอิเลคโทรด (membrane electrode method)
การเลือกวิธีการตรวจวัดขึ้นอยู่กับ สารแทรกสอด ความถูกต้องที่ต้องการ รวมทั้งความสะดวก และรวดเร็ว วิธีแบบเมมเบรนแบบอิเลคโทรดเป็นวิธีที่น่าสนใจในการเลือกตรวจค่าออกซิเจนละลายในน้ำเนื่องจาก
• สามารถใช้ในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ
• ขั้นตอนการตรวจวัดไม่ยุ่งยาก รู้ผลการตรวจวัดได้เร็ว
• ไม่ต้องใช้สารเคมีในการตรวจวัด และใช้อุปกรณ์เครื่องแก้วน้อยกว่า
• สามารถใช้กับตัวอย่างน้ำที่มีความสกปรกมาก หรือมีการปนเปื้อนสารแทรกสอด เช่น Sulfite, Thiosulfate, Polythionate, Free Chlorine, Hypochlorite
เป็นการวัดปริมาณออกซิเจนละลาย โดยอาศัยหลักการที่ออกซิเจนเคลื่อนที่ผ่านเมมเบรนของอิเล็กโทรด ซึ่งภายในอิเล็กโทรด จะมีขั้วแคโทดและแอโนด จุ่มอยู่ในสารละลายอิเลคโตรไลต์เป็นโพแทสเซียมคลอไรด์ ออกซิเจนที่เคลื่อนที่ผ่านเมมเบรนเข้ามา จะเกิดปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด และเกิดออกซิเดชันที่ขั้วแอโนด ทําให้เกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณออกซิเจนที่ซึมผ่านเข้ามา เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณออกซิเจนละลายที่เรียกว่า เครื่องดีโอมิเตอร์(DO meter) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในสารละลายหรือในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร