การตรวจวัดคุณภาพของลมในระบบอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573
การตรวจวัดคุณภาพของลมในระบบอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573

การตรวจวัดคุณภาพของลมในระบบอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573 |
เราจะทราบกันดีว่า อากาศอัดเป็นต้นทุนพลังงานที่มีราคาสูง แต่ว่าจำเป็นต้องใช้งานไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมเล็กหรือใหญ่ และมีการใช้งานที่หลากหลาย หากอากาศอัดที่ผลิตมาได้นั้นไม่สะอาด และมีความชื้นสูง ไม่เป็นไปตามเกณฑ์การควบคุมอาจจะส่งผลต่ออุปกรณ์เครื่องมือทำให้เกิดการสึกกร่อนและเกิดสนิมได้หรืออาจส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าที่ผลิต จนก่อให้เกิดความเสียหายอื่นๆ ตามมาภายหลัง ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญในการดูแลระบบอากาศอัดให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพที่ดีมากที่สุด เพื่อช่วยให้การผลิตอากาศอัดนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนที่จะต้องเสียไปและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการสัมผัสกับอากาศอัด
ISO 8573 เป็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของลมในระบบอากาศอัด ซึ่งจะให้ความสำคัญกับสิ่งเจือปนในอากาศจำพวกฝุ่นละออง น้ำ ก๊าซ การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา และน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการปนเปื้อนบางอย่างจำเป็นต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ล่าช้า และเป็นแค่เฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ประเมินคุณภาพของอากาศได้ตลอดเวลา เครื่องมือของ CS Instruments สามารถตอบโจทย์การวัดเหล่านี้โดยใช้งานเป็นชุดเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอากาศอัดแบบเคลื่อนย้ายได้

โดยมาตรฐาน ISO 8573 จะประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
• Part 1: Contaminants and purity classes
• Part 2: Test methods for oil aerosol content
• Part 3: Test methods for measurement of humidity
• Part 4: Test methods for solid particle content
• Part 5: Test methods for oil vapour and organic solvent content
• Part 6: Test methods for gaseous contaminant content
• Part 7: Test method for viable microbiological contaminant content
• Part 8: Test methods for solid particle content by mass concentration
• Part 9: Test methods for liquid water content
ISO 8573-1:2010 Class |
Solid particles | Water | Öl | ||
Maximum number of particles per m³ | Vapour pressure dew point |
Total share of oil (liquid aerosol and fog) | |||
0.1 – 0.5 µm | 0.5 – 1 µm | 1 – 5 µm | mg/ m³ | ||
0 | In accordance with specification by the device user, stricter requirements than class 1 | ||||
1 | <= 20,000 | <= 400 | <= 10 | <= -70 °C | 0.01 |
2 | <= 400,000 | <= 6,000 | <= 100 | <= -40 °C | 0.01 |
3 | – | <= 90,000 | <= 1,000 | <= -40 °C | 1 |
4 | – | – | <= 10,000 | <= +3 °C | 5 |
5 | – | – | <= 100,000 | <= +7 °C | – |
6 | – | – | – | <= +10 °C | – |
7 | – | – | – | – | – |
8 | – | – | – | – | – |
9 | – | – | – | – | – |
x | – | – | – | – | – |
การวัดปริมาณน้ำมัน
ตารางด้านล่างจะเป็นมาตรฐาน ISO 8573-2 ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบการวัดปริมาณน้ำมั้นโดยการเก็บตัวอย่างแบบชั่วคราว ผลการวัดที่ได้จะใช้สำหรับการทดสอบความถูกต้อง (Validation)
Parameter | Method A – Full flow | Method B – Full flow | Method B2 – Partial flow |
Contamination range | 1 mg/m3 to 40 mg/m3 | 0,001 mg/m3 to 10 mg/m3 | 0,001 mg/m3 to 10 mg/m3 |
Max. velocity in filter | See 7.1.2.10 | 1 m/s | 1 m/s |
Sensitivity | 0,25 mg/m3 | 0,001 mg/m3 | 0,001 mg/m3 |
Sensitivity | + 10% of actual value | + 10% of actual value | + 10% of actual value |
Max. temperature | 100 °C | 40 °C | 40 °C |
Testing time (typical) | 50 h to 200 h | 2 min to 10 h | 2 min to 10 h |
Filter construction | Coalescing line filter | Three-layer membrane | Treee-layer membrane |
เครื่องวัดปริมาณละอองน้ำมัน รุ่น Oil-Check 400 ใช้หลักการวัดด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์แบบ PID (Photo-ionic-detector) ซึ่งวัดปริมาณละอองน้ำมันหลงเหลือได้ตั้งแต่ 0.001 mg/m3 ถึง 2.5 mg/m3 อีกทั้งยังเชื่อมต่อเข้ากับระบบอากาศอัดผ่าน ball valve หรือ quick coupler ได้ง่าย และเนื่องจากค่าต่ำสุดของการวัดอยู่ที่ 0.001 mg/m3 ทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพของอากาศอัดใน Class 1 ตาม ISO 8573 ได้
การวัดค่าความชื้น
มาตรฐาน ISO 8673-3 เป็นวิธีการวัดค่าความชื้น ซึ่งรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

หลักการแบบสเปกโตรสโกปีและการควบแน่น มีความแม่นยำสูงแต่ราคาก็จะสูงเกินกว่าที่จะใช้งานวัดแบบต่อเนื่อง ส่วนหลักการทางเคมี และ psychrometers ใช้สำหรับการวัดแบบครั้งคราวไม่สามารถใช้วัดแบบต่อเนื่องได้ หลักการที่ใช้โดยทั่วไปในการวัดระดับความชื้นและวัดค่าอุณหภูมิ dew point คือ หลักการวัดทางไฟฟ้า ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ชนิดเก็บประจุในการวัด สามารถใช้งานได้ในช่วงกว้างและมีความแม่นยำ โดยเซ็นเซอร์วัดค่า dew point รุ่น FA510 ของ CS Instruments สามารถวัดค่าอุณหภูมิ dew point ได้ต่ำสุดถึง -80 °Ctd
การวัดค่าอนุภาคฝุ่นละออง
มาตรฐาน ISO 8573-4 จะเกี่ยวข้องกับปริมาณของฝุ่นละออง ซึ่งรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

การตรวจวัดปริมาณของอนุภาคฝุ่นในระบบอากาศอัดโดยทั่วไปจะวัดโดยใช้เลเซอร์ในการนับจำนวนอนุภาค ยิ่งมีปริมาณอากาศผ่านเข้าไปวิเคราะห์มากเท่าใดก็จะเพิ่มความแม่นยำในการวัดยิ่งขึ้น เครื่องนับจำนวนอนุภาคฝุ่น รุ่น PC 400 ของ CS Instruments สามารถวัดฝุ่นที่มีขนาดอนุภาคเล็กถึง 0.1 µm ได้ และยังเหมาะสำหรับการวัดค่าคุณภาพอากาศอัด Class ตาม ISO 8573
โดยเครื่องมือทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บันทึกข้อมูล รุ่น DS 500 mobile ที่สามารถแสดงผลที่หน้าจอกราฟิกสีขนาด 7 นิ้วแบบสัมผัส พร้อมบันทึกข้อมูลลงตัวเครื่อง และยังสามารถโอนถ่ายข้อมูลจากตัวเครื่องลงคอมพิวเตอร์ได้
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ
หน่วยงานเอกชน คุณพณิชรัตน์ โทร. 092-282-3339
หน่วยงานราชการ คุณนันท์นภัส โทร. 092-282-3223
หน่วยงานภาคตะวันออก คุณลัดดาวัลย์ โทร. 092-248-9991
หรือ Line ID : @entech