ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ด้วยเทคโนโลยีการตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซ (OGI Camera / Gas Detector)
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ด้วยเทคโนโลยีการตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซ (OGI Camera / Gas Detector)
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
|
ในอุตสาหกรรมหลายประเภทในประเทศไทย มีการใช้สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า VOCs เป็นสารประกอบหรือตัวทำละลายในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมสี ยาง ทินเนอร์ แลคเกอร์ น้ำยาดับกลิ่น สารทำความสะอาด กาว และน้ำยาซักแห้ง เป็นต้น ซึ่งคุณลักษณะของสารนี้จะสามารถระเหยเป็นไอได้ง่ายที่อุณหภูมิและความดันปกติ
เมื่อ VOCs ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ จึงมักมีปัญหาร้องเรียนเรื่องกลิ่น ซึ่งเป็นปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียนมากที่สุด ไอระเหยที่สะสมไว้เป็นเวลานานๆ จะมีผลกระทบทางชีวภาพและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยส่งผลกระทบแตกต่างกันไปตามชนิดของ VOCs นอกจากนี้ยังมีผลต่อชั้นโอโซนอีกด้วย
กรมควบคุมมลพิษจึงได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง จำนวน 19 ชนิด ดังนี้
1. อะซิทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) | 11. 1,4 – ไดคลอโรเบนซีน (1,4 – Dichlorobenzene) |
2. อะครอลีน (Acrolein) | 12. 1,2 – ไดคลอโรอีเธน (1,2 – Dichloroethane) |
3. อะคริโลไนไตร (Acrylonitrile) | 13. ไดคลอโรมีเธน (Dichloromethane) |
4. เบนซีน (Benzene) | 14. 1,2 – ไดคลอโรโพรเพน (1,2 – Dichloropropane) |
5. เบนซิลคลอไรด์ (Benzyl Chloride) | 15. 1,4 – ไดออกเซน (1,4 – Dioxane) |
6. 1,3 – บิวทาไดอีน (1,3 – Butadiene) | 16. เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachloroethylene) |
7. โบรโมมีเธน (Bromomethane) | 17. 1,1,2,2 – เตตระคลอโรอีเธน (1,1,2,2 – Tetrachloroethane) |
8. คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride) | 18. ไตรคลอโรเอทธิลีน (Trichloroethylene) |
9. คลอโรฟอร์ม (Chloroform) | 19. ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) |
10. 1,2 – ไดโบรโมอีเธน (1,2 – Dibromoethane) |
วิธีการควบคุมสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) สามารถทำได้โดยโปรแกรมการวัดสำรวจและซ่อมบำรุง หรือ Leak Detection and Repair Program (LDAR Program) ซึ่งบังคับให้จะต้องมีการตรวจวัดเพื่อสำรวจการรั่วระเหยและตามด้วยการซ่อมบำรุงที่ต้องการ โดยอุปกรณ์ที่ต้องตรวจวัด เช่น ปั๊ม เครื่องอัดอากาศ วาล์ว ท่อส่งปลายเปิด ข้อต่อหรือหน้าแปลน อุปกรณ์ลดความดัน จุดเก็บตัวอย่างสารเคมี เป็นต้น
วิธีการตรวจวัดสามารถใช้กล้องที่ใช้เทคนิคการถ่ายด้วยแสงอินฟราเรด หรือที่เรียกว่า (Optical Gas Imaging, OGI Camera) ที่มีความสามารถแสดงภาพสารอินทรีย์ที่มองไม่เห็นด้วยสายตามนุษย์ได้ โดยคุณลักษณะของกล้องจะตรวจวัดได้ตามข้อกำหนดใน Alternative Work Practice to Detect Leaks from Equipment ตามที่ U.S.EPA กำหนด ซึ่งกล้องตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซอินทรีย์ระเหยง่าย (OGI Camera) รุ่น EyeCGas 2.0 ผลิตภัณฑ์ Opgal จากประเทศอิสราเอล สามารถตอบโจทย์ในการใช้งานการตรวจวัดได้
คุณสมบัติของกล้องตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซอินทรีย์ระเหยง่าย
• สามารถตรวจจับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายได้มากว่า 400 ชนิด
• Built-in Wi-Fi สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลแบบ live video streaming และดาวน์โหลดวิดีโอ
• สามารถวัดอุณหภูมิของวัตถุได้ โดยถ่ายภาพในโหมด Thermography
• มีหน่วยความจำภายในแบบ solid-state ความจุ 64 GB
• สามารถดาวน์โหลดภาพและวิดีโอได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้ Software
• ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน IECEX
• ได้รับรองมาตรฐาน ATEX Zone 2 , UL Class I Div. 2 Hazardous Locations
หลังจากที่ทำการตรวจสอบว่ามีจุดรั่วหรือรอยรั่วของ VOCs ด้วยกล้องตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซ VOCs (OGI Camera) แล้ว ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องเข้าไปแก้ไข ปรับปรุง หรือบำรุงรักษา เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ กลับสู่สภาพปกติ แต่เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีการรั่วไหลของ VOCs เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นจะต้องมี “เครื่องวัดก๊าซรั่วแบบพกพา” ที่จะเข้าไปช่วยตรวจประเมินในขณะการทำงานว่า พื้นที่หน้างานนั้นๆ มีปริมาณก๊าซเพียงพอที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนดหรือเป็นอันตราย จำเป็นต้องหากระบวนการหรืออุปกรณ์เพิ่มเติมที่จะช่วยลดปริมาณความเข้มข้นของ VOCs ในพื้นที่ โดยการวัดจะใช้เครื่องตรวจวัดการั่วไหลของก๊าซแบบพกพาที่มีเซ็นเซอร์วัดค่า VOCs ซึ่งเครื่องมือรุ่น MX6 iBrid ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific (ISC) ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถตรวจวัดก๊าซรั่วไหลประเภท VOCs ได้
เครื่องตรวจวัดการรั่วไหลของก๊าซแบบพกพา รุ่น MX6 iBrid
• สามารถตรวจวัดได้พร้อมกันสูงสุด 6 ชนิดก๊าซ
• หน้าจอ LCD กราฟิกสีที่ทำให้มองเห็นได้ในทุกสภาวะ
• รุ่นที่มีปั๊มสามารถดูดก๊าซได้ไกลถึง 30 เมตร
• มีการแจ้งเตือนแบบเสียงที่มีความดังเสียง 95 dB
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อ | ||
หน่วยงานภาครัฐ | คุณนันท์นภัส | โทร. 092-282-3223 |
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคตะวันออก | คุณลัดดาวัลย์ | โทร. 092-248-9991 |
หน่วยงานภาคเอกชน | คุณศิริพร | โทร. 092-282-3334 |